Educational Technology and Innovation:ผลิตสื่อเพื่อการสอน..
ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบอร์ด
สาขาเทคโนฯนวัตกรรมการศึกษาค่ะ
หากเพื่อนๆต้องการแอดเฟสบุ๊ค ได้ตามลิ้งค์ข้างล่างนะคะ

https://www.facebook.com/etbru

Join the forum, it's quick and easy

Educational Technology and Innovation:ผลิตสื่อเพื่อการสอน..
ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบอร์ด
สาขาเทคโนฯนวัตกรรมการศึกษาค่ะ
หากเพื่อนๆต้องการแอดเฟสบุ๊ค ได้ตามลิ้งค์ข้างล่างนะคะ

https://www.facebook.com/etbru
Educational Technology and Innovation:ผลิตสื่อเพื่อการสอน..
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Educational Technology and Innovation (BURIRAM RAJABHAT UNIVERSITY)


You are not connected. Please login or register

ห้องของ อ. สัญชัย

+28
tapakron
Manorom
Sattawat
Chaiyo
Sittipong
wavnapa
khanittha
supakron
rattana
somkid
wisawapon
weerachai
ya-ya-yo@hotmail.com
supod
carery
supansa2010
krittaya
saowaluk
sumarin
yingtae_classic
toey@_@
SASSY GIRL
tweety-ice
auto
alcoholisman
Yakuza_Noy ^^
santa
Admin
32 posters

ไปที่หน้า : 1, 2, 3  Next

Go down  ข้อความ [หน้า 1 จาก 3]

Admin

Admin
~AdminET&I Board~

ห้องของ อ. สัญชัย

http://etbru.techno-zone.net

santa

santa
มือสมัครเล่น
มือสมัครเล่น


rab4 เข้ามาทักทายกันบ้างนะ....ฮา

santa

santa
มือสมัครเล่น
มือสมัครเล่น


Yakuza_Noy ^^

Yakuza_Noy ^^
มือสมัครเล่น
มือสมัครเล่น

rab22 จ๊ะเอ๋..

ซาหวัดดีกั้บ บายดีมั้ยคับพี่สัญ ^^

ทักทายนะก๊ะ ...

alcoholisman


เด็กใหม่เทคโนฯ
เด็กใหม่เทคโนฯ

ดีคับ พี่สัญ สบายดีน่ะคับ

จากคนไกล... ศิษย์เก่า เทคโน ฯ

auto


เด็กใหม่เทคโนฯ
เด็กใหม่เทคโนฯ

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพรัก

ดิฉันนางสาวกุสุมา ชุมพลวงค์ ชั้นปีที่ 1

เมื่อกี้โพสกระทู้ผิดห้อง

ต้องขออภัย

แวะมาโพสใหม่นะคะอาจารย์ที่เคารพ

auto


เด็กใหม่เทคโนฯ
เด็กใหม่เทคโนฯ

องค์ประกอบและ/หรือลักษณะของการสอนที่ดี
การสอนมีอยู่มากมายหลายวิธี
แต่ละวิธีก็จะมีข้อเด่นข้อด้อยในตัวเอง
อย่างไรก็ตามแนวคิดเกี่ยวกับการสอนในปัจจุบัน
มุ่งเน้นการสอนที่สามารถพัฒนาผู้เรียนได้ครบทั้งความรู้ ทักษะ และทัศนคติ
โดยอาศัยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ดังนั้นลักษณะการสอนที่ดีจึงควรมีลักษณะดังนี้
1. ต้องมีวัตถุประสงค์ของบทเรียน มีการเตรียมเนื้อหา สื่อการเรียนการสอน และการประเมินผลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทเรียน
2. ต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยต้องคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน ในด้านวัย ประสบการณ์เดิมและความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นหลัก
3. ต้องสร้างบรรยากาศให้เหมาะแก่การเรียนรู้ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและอารมณ์ของผู้เรียน
4. มุ่งให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ความสามารถ ทักษะและทัศนคติพร้อมที่จะประพฤติตนเป็นคนดี
5. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
6. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดค้นหาเหตุผลความเป็นไปของสิ่งที่เรียน ไม่ใช่ข้อเท็จจริงจากตำราหรือคำบอกเล่าอย่างเดียว
7.
สร้างความสัมพันธ์ของเนื้อหาและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ
เพื่อให้เกิดประสบการณ์ที่ต่อเนื่องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
8. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน การดำเนินกิจกรรม และการประเมินผลการเรียนการสอน
9. ไม่ควรยึดมั่นในวิธีสอนวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงวิธีเดียว ควรเสาะหาวิธีที่เหมาะสมกับการสอนแต่ละเนื้อหา
10.
ต้องมีการประเมินผลตลอดเวลา โดยใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การสังเกต การซักถาม
และการทดสอบ
เพื่อให้แน่ใจว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์

นางสาวกุสุมา ชุมพลวงค์
ชั้นปีที่1 เลขที่28
สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

tweety-ice

tweety-ice
มือสมัครเล่น
มือสมัครเล่น

องค์ประกอบ ลักษณะของการสอนที่ดี
หลักการสอนที่ดี คือ ผู้สอน วิธีการสอน และการเรียนรู้ บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม ต้องมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ผู้สอนจะต้องมีจรรยาบรรณแห่งความเป็นครู วิธีการสอนคือกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้สอนกับผู้เรียนจะต้องสอดคล้อง เหมาะสม เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี เพื่อให้การสอนบรรลุตามเป้าหมาย ผู้สอนต้องเตรียมการสอนมาอย่างดี ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทุกด้าน จัดการสอนอย่างมีกระบวนการ และให้ครบองค์ประกอบการสอน ได้แก่ การตั้งจุดประสงค์การสอน การกำหนดเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อการสอน และการวัดผลประเมินผล ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ตรงตามจุดมุ่งหมาย ของหลักสูตร นอกจากนี้ผู้สอนควรได้คำนึงถึงหลักพื้นฐานในการสอน ลักษณะการสอนที่ดี และปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดจนรู้จักใช้หลักการสอนให้สอดคล้องกับหลักการเรียนรู้หลักจิตวิทยาบรรยากาศเป็นประชาธิปไตย ก็จะช่วยให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร



นางสาวกตัญชลี พงศ์ทองมี
ชั้นปีที่1 เลขที่24
สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

SASSY GIRL


เด็กใหม่เทคโนฯ
เด็กใหม่เทคโนฯ

รูปแบบและวีธีการสอน

การจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี เป็นการจัดการเรียนการสอน ที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเข้าไปฝึกอาชีพตามสภาพการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ เพื่อให้เรียนรู้วิธีการปฏิบัติงาน ฝึกทักษะ การใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในสถานประกอบการซึ่งถือเป็นการจัดอาชีวศึกษาที่สมบูรณ์ ดังนั้นการจัดระบบการจัดการภายในสถานประกอบการที่จะเป็นต้นแบบในการถ่ายทอดวิธีการทำงานหรือเรียกว่าการสอนงานจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง การจะเลือกใช้วิธีการ เทคนิคใดๆ นั้น ขึ้นอยู่กับตัวผู้สอนและตัวผู้เรียนซึ่ง ต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ที่มีความรู้ ประสบการณ์ และลักษณะนิสัยที่ต่างๆ กันไป อย่างไรก็ตาม เราอาจสรุปได้ว่า การสอนงานนั้น แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ กล่าวคือ
1. แบบผลัก-ดัน (push) คือต้องทั้งผลักและดัน เพื่อให้เกิดผลงานที่เราต้องการ โดยการสั่ง/สอนให้ทำ ต้องใช้วิธีการให้คำตอบ หรือบอกวิธีการทำอย่างชัดเจน ทั้งนี้เนื่องจากเราเห็นว่าผู้ปฏิบัติงานนั้นๆ ไม่มีความรู้ ไม่มีความมั่นใจ ไม่สามารถทำงานให้ลุล่วงได้เอง หรือบางครั้งเราเองต้องการให้งานนั้น ๆ เสร็จสิ้นโดยเร็ว
2. แบบดึง (pull) เป็นการดึงเอาข้อดีของเขาออกมา ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความสามารถในตัวเขาโดยผู้สอนจะเป็นคนคอยตั้งคำถาม กระตุ้นให้คิด และรับฟังเป็นส่วนใหญ่ โดยให้ผู้เรียนหรือผู้ปฏิบัติงานต้องรับผิดชอบต่อผลของงานที่เกิดขึ้น





นางสาวอภัสนันท์ เรืองประโคน
ชั้นปีที่1 เลขที่ 45
สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

toey@_@


เด็กใหม่เทคโนฯ
เด็กใหม่เทคโนฯ

อ่านเด็มๆที่บ้านของคุณครูแหลมนะครับ.....
ส่วนที่ผมเอามาแปะบทความนี้มาไว้ที่นี้ด้วย...เพราะ
ผมกลัวคุณครูแหลมจะถอดบทความนี้ออก...55555...
ขออภัยนะครับคุณครูแหลม...

วิธีสอนที่ดีคือ อย่าสอน
การสอนแบบไม่สอน ทำให้เขาเกิดเรียนรู้ด้วยตัวเอง

แค่ ให้คำแนะนำ และเป็นที่ปรึกษา นี่ละครับ ซายด์เซนเตอร์ ให้เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ครูทุกคนต้องรู้ว่าเด็กแต่ละคนมีพฤติกรรมอย่างไร การเอาพฤติกรรมทางการตลาด มาปรับเปลี่ยนใช้กับสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ แทนที่จะเอาเปรียบ ไปเสนอขายสินค้า เปลี่ยนมาเป็นสอนว่า พฤติกรรมของเด็กคน นี้เป็นแบบนี้ ต้องพูดจาด้วยภาษาแบบนี้ แล้วให้เขาทำแบบนี้ อีกคนเป็นแบบนี้ถ้าเขาผิดตีได้เลย ครูแหลมจะตีเฉพาะบางคน ก่อนตี จะบอกเหตุผลก่อน พอตีแล้วก็บอกก็สอนอีก

.....การสอนแบบไม่สอน ทำให้เขาเกิดเรียนรู้ด้วยตัวเอง แต่ ก่อนจะสอน หรืออธิบายต้องให้ไปดูของจริง อธิบายเรื่องจริงๆ ทำไมจึงมีสงคราม ที่ทำให้ผู้คนตายมากมาย ตอบง่ายๆ...เพราะเขาไม่รักกัน แล้วทำไมทุกเทศกาล เช่นปีใหม่...มีคนตายจากอุบัติเหตุมากมาย ตอบง่ายๆ...เพราะเขา ประมาท เด็กเข้าใจ ทำไมเลย เพราะเราสอนรากเหง้าของปัญหา คุณเอาเหตุการในปัจจุบัน มาสอน หรือตั้งคำถาม แล้วให้เด็กๆไป ค้นคว้าหาคำตอบ

.....ไม่ว่าผิว คนละสี นับถือศาสนาอะไร ยากดีมีจนอย่างไร ถ้าเขาหรือ เด็กๆ มีความรักจะไม่ทำอย่างนี้หรอก เด็ก ๆ จะรู้ว่าต้องมีคนเสียใจ มากจากเหตุการณ์อย่างนี้ เขาก็เข้าใจ และถามต่อว่าทำยังไงให้มี ความรัก เราก็บอกยิ้มสิลูก ทักทายคนแปลกหน้า แต่ถ้าเขาชวนไป ไหนอย่าไป เอาอะไรให้ทานอย่าทาน ถ้าเขาชวนคุยๆ มั้ย แรกๆ เด็ก บอกไม่ เพราะพ่อแม่สอนไม่ให้คุยกับคนแปลกหน้า เนี่ยผิด เราก็ บอกคุยได้ เพราะเรามีความรัก และอยากมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับ ทุกๆ คน เด็กก็จะเปิดหัวจิตหัวใจ ฉลาด และรอบรู้ แล้วจะเกิดการ เรียนรู้ว่าใครมาดี ใครมาร้าย

.....ศิลปะเป็นสื่อ แต่เราต้องสอนทั้งหมด มันเป็นเรื่องยากนะ ในการ สอนให้คนมีความสุข เราต้องเข้าใจทั้งหมด ไม่ใช่เขียนรูป หรือ ทำงานศิลปะแค่นั้นแล้วมีความสุข แต่ต้องสอนให้เขาคิดเป็นก่อน ถึง ได้มาทำโรงเรียน เพื่อจะแก้ปัญหาให้คนคิดออก คิดเป็น ให้วิตามิน แก่ใจ อย่างครูแหลมทำงาน เพราะมีฉันทะ ในสิ่งที่ทำ แล้วจะชอบเอาธรรมะสอดแทรกในการเรียนการสอนทุก ครั้ง โดยที่เด็กๆรู้ตัวมั่งไม่รู้ตัวมั่ง .....เราเชื่อในเรื่องการเรียนรู้ด้วยตัวเอง มีหนังสือคือครู และหนังสือนี่เองที่พาเขาก้าวสู่การเรียนรู้ปรัชญา อย่า ยึดถือ ยึดติดกับหน่วยงาน องค์กร หรือสถาบันนั้น ๆ ..... จะเห็นได้ว่าโลกเป็นอย่างนี้ เพราะเรายึดติดนะครับ อย่างวันที่ ทุกวันนี้เขาเข่นฆ่ากัน เพราะเราไปยึดกับสิ่งใด สิ่งหนึ่งมากเกินไป เลยทำให้ไม่เข้าใจชีวิต จริงอยู่ที่ทุกคนต้องมีสิ่งยึดเหนี่ยว...มีความเชื่อในสิ่งที่ยึดถือ แต่อย่ายึดติด และงมงาย ทุกๆสิ่งทุกๆอย่างมีบุญคุณกับเรา แต่มันต่างกันกับการ เรียนรู้เพื่อใช้ชีวิตให้มีความสุข สงบ สันติ....


เหมือน กับการเรียนศิลปะนั่นแหละ ภาวะแรกๆ ของการเข้าเรียนศิลปะก็จะยึดติดกับภาพเสมือนจริง พอเขียนไปๆ ไม่เหมือนแล้ว เพราะถูกการคลี่คลายออกไปเรื่อยๆ ทำให้เกิด การเรียนรู้ว่า ศิลปะไม่ใช่เรื่องฝีมือ หรือการทำให้เหมือน ไม่งั้น เราจะเป็นนักลอกแบบ

.... ครูแหลมเชื่อว่าทุกคนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยมีสถาบันหรือ องค์กรนั้นเป็นที่รองรับ ไม่อยากให้ไปยึดติดว่าคุณต้องจบสามย่าน จบท่าพระจันทร์ แล้วก็ไปติดกันอยู่อย่างนี้ และครูมั่นใจว่า อีก ๑๐-๒๐ ปีข้างหน้าดีกรีปริญาตรี โท เอก ไม่จำเป็นอีกต่อไป มนุษย์ที่มีความเชี่ยวชาญแต่ละสาขาต่างหากจะดำรงชีพได้รอด .....ดูอย่าง ปี ๒๕๔๐ เนี่ยก็เก่ง ๆ กันทั้งนั้น แต่ประเทศชาติก็ล่มสลาย ไม่สามารถรอดพ้นจากภาวะวิกฤติ เรามีนักเศรษฐศาสตร์ เก่ง ๆ มาจากสถาบันที่มีชื่อเสียงของโลก มีใครต่อใครเยอะแยะ แต่ ก็แพ้ในหลวงคนเดียว ซึ่งพระองค์ท่านตรัสว่า...ทำให้พอเพียง

ในขณะที่ ประเทศทางยุโรปมีนักออกแบบเยอะ จึงไม่ประสบภาวะทางเศรษฐกิจ เพราะเขาคิดค้นใหม่ๆ อยู่เรื่อย ในขณะที่เราเป็นนักลอกแบบ คือผู้ตาม จึงเสียหายอยู่ในทุกวันนี้

ประเทศไทยของเราขาดนักออกแบบ...นักคิด ...นักฝัน...นักพัฒนา ลูกหลานของเราเกิดขึ้นทุกวัน แต่เราสอนให้เขาเดินตามก้นฝรั่ง คิดแบบฝรั่ง กินแบบฝรั่ง โดยลืมสีผมของตัวเอง

เมื่อเด็กๆคิด เด็กๆฝัน เราก็ไปว่ามันว่าเพ้อเจ้อ ไปว่ามันว่าเป็นเด็กแนว...ผู้ใหญ่อย่างเราชอบด่าว่าเด็กๆ โดยลืมว่าเราเคยเป็นเด็กมาก่อน

...เราอาจจะลืมไปแล้วว่า เด็กที่เราด่าเมื่อวานนี้วันนี้มันมาบริหารประเทศ...

อย่าสอนให้ลูกหลานเราร่ำรวยและมั่งคั่ง จงสอนเหมือนพ่อ...ที่ให้พอเพียง แล้วมีความสุข

ขอบพระคุณครับ
=ครูแหลม=

นายสถาพร แดนละลม
เลขที่18

yingtae_classic


มือสมัครเล่น
มือสมัครเล่น

หลักการสอนที่ดี

การสอน เป็นหนึ่งในกระบวนการที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามความหมายของการศึกษา คือ การส่งเสริมให้บุคคลเจริญเติบโตและมีความเจริญงอกงามทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาและพัฒนาขึ้นไปสู่ความเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม การสอนมีความ หมายที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับปรัชญาหรือจุดมุ่งหมายที่เราต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน
ความหมายของการสอน
ความหมายที่เป็นศิลป์เป็นความหมายที่เป็นพฤติกรรมการถ่ายทอดของครูในยุคดั่งเดิมที่ถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่ผู้มีประสบการณ์น้อยกว่า ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนขึ้นอยู่กับอารมณ์และความพอใจของผู้สอน การสอนถือว่าเป็นความสามารถหรือ ศิลปเฉพาะตัวของผู้สอน ที่ถ่ายทอดหรือสอน เพราะผู้สอนจะมีลีลาหรือเล่ห์เหลี่ยมการสอนที่แตกต่างกันออกไปตามความรู้ความสามารถและทักษะของแต่ละคน

ความหมายที่เป็นศาสตร์ เป็นการสอน (Teaching ) ที่มีระบบระเบียบมากขึ้น มีขั้นตอนที่ชัดเจน มีการแสดงให้เห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน มีการศึกษาค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับ จิตวิทยา การเรียนรู้ของผู้เรียน ในช่วงต้น ๆ ครูเป็นศูนย์กลางในการจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ตามสถานการณ์และความพอใจของครู

ความหมายที่เป็นศาสตร์และศิลป์ เป็นการปรับเปลี่ยนจากการสอน (Teaching ) มาสู่การเรียนการสอน (Instruction) ครูต้องใช้ความรู้ในการวางแผนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนด โดยอาศัยสื่อและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ามาช่วย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนขยายวงกว้างออกไป รวมไปถึงปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ ด้วย

ความหมายของการสอน จำแนกตามความมุ่งหมาย
การสอน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้
การสอน หมายถึง การจัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
การสอน หมายถึง การฝึกให้ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาต่าง ๆ
การสอน หมายถึง การแนะแนวทางแก่ผู้เรียนเพื่อให้ศึกษาหาความรู้
การสอน หมายถึง การสร้างหรือการจัดสถานการณ์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
การสอน หมายถึง กระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความคิดที่จะนำความรู้
ไปใช้เกิดทักษะหรือความชำนาญที่จะแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
การสอน หมายถึง การจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้นักเรียนได้ปะทะเพื่อที่จะให้เกิดการ
เรียนรู้หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น การสอนจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่
ก่อให้เกิดการเจริญงอกงาม
องค์ประกอบของการเรียนการสอน
การเรียนการสอน มีองค์ประกอบที่เป็นตัวป้อน กระบวนการ และ ผลผลิต
1. ตัวป้อน ได้แก่ ครู หรือ ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ วัสดุอุปกรณ์
2. กระบวนการ ได้แก่ การดำเนินการสอน การตรวจสอบความรู้พื้นฐาน การสร้างความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆ
3. ผลผลิต ได้แก่ ผลการเรียนรู้ที่เกิดแก่ผู้เรียน ตามจุดประสงค์การเรียนการสอนที่กำหนด
จุดประสงค์การเรียนการสอน
ความหมายของจุดประสงค์การเรียนการสอน
จุดประสงค์การเรียนการสอน คือข้อความที่ระบุคุณลักษณะการเรียนรู้และความสามารถที่ครูต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน หลังจากที่นักเรียนได้ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนในบทหนึ่ง ๆ แล้ว ความสำคัญของจุดประสงค์การเรียนการสอน
แบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือ
1. จุดประสงค์ทั่วไป เป็นจุดประสงค์ที่มีความหมายกว้างไม่เฉพาะเจาะจง และเป็น
จุดประสงค์ที่ตั้งขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้ง เช่น เพื่อให้มีนิสัยใฝ่หาความรู้ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ และเห็นคุณค่าในศิลปวัฒนธรรมไทย
2. จุดประสงค์เฉพาะ เป็นจุดประสงค์ที่มีเฉพาะเจาะจง และเป็นจุดที่ตั้งขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้ง เช่น นักเรียนสามารถเขียนแผนภูมิแท่งได้ นักเรียนสามารถวาดภาพได้จุดประสงค์เฉพาะจะชี้ให้เห็นสิ่งที่ต้องการจากการศึกษาอย่างเจาะจงและเกี่ยวข้องกับเนื้อหาโดยตรง นอกจากนี้ จุดประสงค์ยังอาจแบ่งได้ตามลักษณะการเรียนรู้ได้เป็น 3 ด้าน ดังนี้
• ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) หรือด้านสติปัญญา หรือด้านความรู้และการคิดประกอบด้วยความรู้ความจำเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ การนำเอาสิ่งที่เป็นความรู้ความจำไปทำความเข้าใจ นำไปใช้ การใช้ความคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า
• ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) หรือด้านทักษะทางกาย หรือด้านการปฏิบัติ ประกอบด้วยทักษะการเคลื่อนไหว และการใช้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การเลียนแบบ การทำตามคำบอก การทำอย่างถูกต้องเหมาะสม การทำได้ถูกต้องหลายรูปแบบ การทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ
• ด้านจิตพิสัย (Effective Domain) หรือด้านอารมณ์ – จิตใจ ความสนใจ เจตคติ ค่านิยม และคุณธรรม เช่น การเห็นคุณค่า การรับรู้ การตอบสนอง และการสร้างคุณค่าในเรื่องที่ตนรับรู้นั้น แล้วนำเอาสิ่งที่มีคุณค่านั้นมาจัดระบบและสร้างเป็นลักษณะนิสัย
รูปแบบการสอน
การสอนมีอยู่มากมายหลายวิธี แต่ละวิธีก็จะมีข้อเด่นข้อด้อยในตัวเอง เราไม่สามารถกล่าวได้ว่า วิธีใดเป็นวิธีสอนที่ดีที่สุด เพราะการเรียนการสอนต้องขึ้นกับองค์ประกอบหลายประการ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องตัดสินใจเลือกวิธีสอนตามความเหมาะสมของสภาพที่เป็นอยู่ ควรนำเทคนิคต่าง ๆ มากระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลาที่กำหนดให้
การเลือกวิธีสอน มีแนวคิด ดังนี้
1. สอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน เป็นวิธีที่มั่นใจว่าจะสามารถช่วยให้ผู้เรียน
บรรลุจุดประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
2. สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่จะสอน
3. เหมาะสมกับเวลา สถานที่ และจำนวนผู้เรียน
ลักษณะการสอนที่ดี การสอนที่ดีต้องมีองค์ประกอบร่วมกันหลายประการ ที่เหมาะสมสอดคล้อง
กัน แยกลักษณะ ได้ดังนี้
อาจารย์ผู้สอน
1.มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพครู
- อุทิศเวลาและเสียสละให้กับงานสอนด้วยความรับผิดชอบ
- สอนอย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
- ช่วยเหลือและปฏิบัติต่อศิษย์อย่างเป็นธรรม
- เป็นตัวอย่างที่ดีของศิษย์
- หมั่นศึกษาค้นคว้าติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการของตนให้ทันต่อเหตุการณ์
เสมอ
2.มีทัศนคติที่ดีต่อการเป็นครู และ ตั้งใจสอน
3.ลักษณะอาจารย์อาจารย์ ควรมีลักษณะท่าทางที่จริงใจ มีเมตตา สนใจต่อผู้เรียนให้ความ
เป็นกันเอง
4.ไม่ควรยึดมั่นในวิธีสอนวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงวิธีเดียว ควรเสาะหาวิธีที่เหมาะสมกับการสอน
แต่ละเนื้อหา
5.ถ่ายทอดความรู้ได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย
วิธีการสอน
1..ต้องคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน ในด้านวัย ประสบการณ์เดิมและความแตกต่าง
ระหว่างบุคคลเป็นหลัก
2. ส่งเสริมให้นักเรียนได้มีการเรียนด้วยการกระทำ (Learning by Doing) ให้มากที่สุด เพื่อ
จะได้เกิดการเรียนรู้ที่ดี และจำได้นาน
3. ส่งเสริมนักเรียนให้เรียนด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม ได้แสดงความคิดเห็น ยอมรับความ
คิดเห็นซึ่งกันและกัน
4. มีการตอบสนองความต้องการของนักเรียน เรียนด้วยความสุข ความสนใจ กระตือรือร้น
ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
5. การจัดเตรียมกระบวนการเรียนการสอน การจัดห้องเรียน การเตรียมความรู้ ใช้ตำรา
ประกอบการเรียน มีทักษะในการสอนแบบต่าง ๆได้เหมาะสมกับเนื้อหา
6. มีกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเร้าความสนใจ ผู้เรียนสนุกสนาน ได้ลงมือปฏิบัติจริงและดู
ผลการปฏิบัติของตนเอง
7. มีการส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ ด้วยการซักถาม หรือให้แสดงความ
คิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาง่าย ๆ คิดหาเหตุผลเปรียบเทียบ และพิจารณาความสัมพันธ์ของ
สิ่งต่าง ๆ
8. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดค้นหาเหตุผลความเป็นไปของสิ่งที่เรียน ไม่ใช่ข้อเท็จจริง
จากตำราหรือคำบอกเล่าอย่างเดียว
9.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน การดำเนินกิจกรรม และการประเมินผล
การเรียนการสอน
10. มีการส่งเสริมความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ส่งเสริมการคิดทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ดีมีประโยชน์ไม่
เลียนแบบใคร ส่งเสริม กิจกรรมสุทรียภาพ ร้อยกรอง วาดภาพ และแสดงละคร
11. มีการใช้การจูงใจ ในระหว่างเรียน เช่น รางวัล การชมเชย คะแนนแข่งขัน การลงโทษ
ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสนใจ ตั้งใจ ขยันหมั่นเพียรในการเรียนและทำกิจกรรม
เนื้อหาวิชา
1. มีความสัมพันธ์กันระหว่างวิชาที่เรียนกับวิชาอื่น ๆ ในหลักสูตรเป็นอย่างดี(การสอน
แบบบูรณาการ)
สื่อการสอน
1.อุปกรณ์การสอนและการเรียน รวมถึงห้องปฏิบัติการ การใช้เครื่องมือต่าง ๆ มีห้องสมุดที่ สมบูรณ์ และตำราที่เป็นภาษาของตนเอง
2. มีการใช้สื่อการสอน จำพวกโสตทัศนวัสดุ เพื่อเร้าความสนใจ ช่วย ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น
สิ่งแวดล้อม
1.ต้องสร้างบรรยากาศให้เหมาะแก่การเรียนรู้ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและอารมณ์ของผู้เรียน

. 2. มีการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแบบประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นมีการ
รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ยกย่องความ คิดเห็น ที่ดี
นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนร่วมกับครู
การประเมินผล
1.ควรมีการประเมินผลตลอดเวลา โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสังเกต การซักถาม การทดสอบ
เพื่อให้แน่ใจว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ ของครูตรงตาม
จุดประสงค์มากที่สุด
2.การวัดผล มีการป้อนกลับ และการเสริม ใช้การวัดผลเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการ
สอน รู้จักออกข้อสอบที่ดี ให้คะแนนยุติธรรม
3. มีการวัดผลการเรียนการสอน โดยจะทำการวัดผลเป็นระยะ ๆ ให้ติดต่อกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิด
ความสนใจ ตั้งใจเรียนและยังเป็นการวัดความเข้าใจของนักเรียนด้วย


สรุปหลักการสอนที่ดี คือ ผู้สอน วิธีการสอน และการเรียนรู้ บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม ต้องมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ผู้สอนจะต้องมีจรรยาบรรณแห่งความเป็นครู วิธีการสอนคือกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้สอนกับผู้เรียนจะต้องสอดคล้อง เหมาะสม เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี เพื่อให้การสอนบรรลุตามเป้าหมาย ผู้สอนต้องเตรียมการสอนมาอย่างดี ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทุกด้าน จัดการสอนอย่างมีกระบวนการ และให้ครบองค์ประกอบการสอน ได้แก่ การตั้งจุดประสงค์การสอน การกำหนดเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อการสอน และการวัดผลประเมินผล ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ตรงตามจุดมุ่งหมาย ของหลักสูตร นอกจากนี้ผู้สอนควรได้คำนึงถึงหลักพื้นฐานในการสอน ลักษณะการสอนที่ดี และปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดจนรู้จักใช้หลักการสอนให้สอดคล้องกับหลักการเรียนรู้หลักจิตวิทยาบรรยากาศเป็นประชาธิปไตย ก็จะช่วยให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร







นางสาว อิสตรี อินทรกำแหง เลขที่ 55

ปี 1

yingtae_classic


มือสมัครเล่น
มือสมัครเล่น

[color=red]การประยุกต์ใช้อินเตอร์เนตเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน
Internet Applications for Teaching and Learning Development
ผศ.ไพศาล สุวรรณน้อย
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Email: paisan@ednet.kku.ac.th

บทนำ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ได้กำหนดเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ซึ่งส่งผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องจัดเตรียมการเกี่ยวกับการปฏิรูปด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมย์ของพระราชบัญญัติ ในระดับโรงเรียนนั้น ครู-อาจารย์เป็นกลุ่มบุคคลที่สำคัญ ที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ในลักษณะของระบบเครือข่ายเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สนองตอบการจัดการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ที่กำหนดไว้ในหมวด 4 มาตรา 22, 23 และ 24
การนำเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะอินทราเน็ต (Intranet) และอินเตอร์เน็ต (Internet) มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องมีกรอบที่ชัดเจนว่า จะนำมาใช้เพื่อพัฒนาอะไร จึงจะสามารถกำหนดแนวทางได้ว่าจะนำมาใช้อย่างไร เอกสารฉบับนี้จึงนำเสนอกรอบแนวคิดที่สำคัญ 3 ประการคือ ลักษณะการสอนที่ดี การสอนแบบค้นพบความรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเพื่อพัฒนาผู้เรียน และ แนวคิดเกี่ยวกับความสามารถของอินเตอร์เน็ตที่นำมาใช้เพื่อการนำเสนอเนื้อหาและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อนำไปสู่แนวคิดการประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

ลักษณะของการสอนที่ดี
การสอนมีอยู่มากมายหลายวิธี แต่ละวิธีก็จะมีข้อเด่นข้อด้อยในตัวเอง อย่างไรก็ตามแนวคิดเกี่ยวกับการสอนในปัจจุบัน มุ่งเน้นการสอนที่สามารถพัฒนาผู้เรียนได้ครบทั้งความรู้ ทักษะ และทัศนคติ โดยอาศัยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นลักษณะการสอนที่ดีจึงควรมีลักษณะดังนี้
1. ต้องมีวัตถุประสงค์ของบทเรียน มีการเตรียมเนื้อหา สื่อการเรียนการสอน และการประเมินผลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทเรียน
2. ต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยต้องคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน ในด้านวัย ประสบการณ์เดิมและความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นหลัก
3. ต้องสร้างบรรยากาศให้เหมาะแก่การเรียนรู้ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและอารมณ์ของผู้เรียน
4. มุ่งให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ความสามารถ ทักษะและทัศนคติพร้อมที่จะประพฤติตนเป็นคนดี
5. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
6. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดค้นหาเหตุผลความเป็นไปของสิ่งที่เรียน ไม่ใช่ข้อเท็จจริงจากตำราหรือคำบอกเล่าอย่างเดียว
7. สร้างความสัมพันธ์ของเนื้อหาและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประสบการณ์ที่ต่อเนื่องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
8. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน การดำเนินกิจกรรม และการประเมินผลการเรียนการสอน
9. ไม่ควรยึดมั่นในวิธีสอนวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงวิธีเดียว ควรเสาะหาวิธีที่เหมาะสมกับการสอนแต่ละเนื้อหา
10. ต้องมีการประเมินผลตลอดเวลา โดยใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การสังเกต การซักถาม และการทดสอบ เพื่อให้แน่ใจว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์

การสอนแบบค้นพบความรู้
การสอนแบบค้นพบความรู้ (Discovery) เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนค้นพบคำตอบหรือความรู้ด้วยตนเอง การค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนนี้เป็นผลมาจากที่ได้เผชิญกับปัญหาหรือสถานการณ์ แล้วรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยอาจจะใช้วิธีการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร การทดลอง การสอบถามจากผู้รู้หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เมื่อได้ข้อมูลมากพอที่จะนำมาวิเคราะห์ เพื่อลงข้อสรุปเป็นคำตอบหรือความรู้ที่ต้องการ จึงยุติการศึกษาค้นคว้าในประเด็นนั้น การเรียนรู้โดยวิธีการค้นพบความรู้นี้ เป็นกระบวนการอย่างเดียวกับที่นักนักคณิตศาสตร์ศึกษาคณิตศาสตร์ นักเคมีศึกษาค้นคว้าทางเคมี นักประวัติศาสตร์ศึกษาประวัติศาสตร์ นักภาษาศึกษาทางด้านภาษา หรือศิลปินศึกษาค้นคว้างานทางด้านศิลปะ จะเห็นว่าวิธีการสอนแบบนี้สามารถนำมาใช้ในการสอนได้ทุกวิชา เพราะเป็นวิธีการที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมการเรียน หรือเป็นผู้กระทำกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้เอง ทั้งนี้เป็นการติดอาวุธทางปัญญาให้กับผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับปวงชน ซึ่งสอดคล้องกับ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2542 มาตรา 8 และ มาตารา 22



ข้อดีของการสอนแบบค้นพบความรู้
1. การที่ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเองทำให้สามารถจดจำความรู้นั้นได้นาน มีความภูมิใจและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะศึกษาในเรื่องนั้นต่อไปอีก
2. ผู้เรียนมีโอกาสพัฒนาทักษะและเจตคติที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง
3. ผู้เรียนมีโอกาสพัฒนาทักษะทางสมองระดับสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการหยั่งรู้ (Intuitive Thinking)
4. ผู้เรียนมีโอกาสฝึกทักษะการอ้างอิงโดยใช้การคิดอย่างมีเหตุผล ทั้งการคิดแบบอุปนัย (Inductive Thinking) และการคิดแบบนิรนัย (Deductive Thinking)
5. ผู้เรียนจะเรียนรู้โดยเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งในสิ่งที่ตัวเองศึกษา

ข้อจำกัดของการสอนแบบค้นพบความรู้
1. เป็นวิธีการเรียนที่ผู้เรียนแต่ละคนใช้เวลาในการเรียนค่อนข้างมาก และผู้เรียนแต่ละคนจะใช้เวลาไม่เท่ากัน
2. เอกสารตำราและสื่อการเรียนอื่น ๆ ในปัจจุบัน จะผลิตขึ้นในรูปของการบอกความรู้ให้กับผู้เรียนมากกว่าการให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเอง
3. ผู้เรียนมักจะค้นพบสิ่งต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากสิ่งที่ต้องการให้ค้นพบ ทำให้ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้าขยายกรอบกว้างมากเกินไป
4. ผู้เรียนบางคนไม่สามารถค้นพบความรู้ตามที่มุ่งหวังไว้ ทั้งนี้อาจมาจากขาดทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการเรียนรู้โดยวิธีนี้

แนวทางการจัดกิจกรรมการสอนแบบค้นพบความรู้ให้มีประสิทธิภาพ
จากข้อดีและข้อจำกัดของการสอนแบบค้นพบความรู้ด้วยตนเองดังกล่าว การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนโดยวิธีนี้ จึงน่าจะดำเนินการให้มีประสิทธิภาพได้ดังนี้
1. ผู้สอนจะต้องรอบรู้ในวิชานั้น เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหา หรือให้คำแนะนำในกรณีที่ผู้เรียนค้นพบความรู้ที่ไม่ได้คาดหวังมาก่อน
2. การกำหนดปัญหาและสถานการณ์เพื่อให้เกิดการค้นพบความรู้ จะต้องวางแผนอย่างรอบคอบ และมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน
3. จะต้องมีอุปกรณ์ สื่อการเรียนและแหล่งข้อมูลสำหรับการเรียนอย่างเหมาะสม
4. ต้องมีการประเมินผลเพื่อพิจารณาทั้งในด้านความรู้และกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียน
5. ควรสร้างโอกาสให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การค้นพบความรู้ของตนกับผู้อื่นทั้ง เพื่อนในชั้นเรียน เพื่อนต่างโรงเรียน ครู อาจารย์ หรือผู้รู้อื่น ๆ
6. การค้นพบความรู้ได้นั้น นอกจากผู้เรียนต้องมีเวลามากพอแล้ว ยังต้องมีพื้นฐานความรู้ที่เพียงพอ มีความสามารถในการสร้างความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยการสังเกต การรวบรวม จัดหมวดหมู่ ตีความหมาย และลงข้อสรุปจากข้อมูลที่รวบรวมมาทั้งหมด ดังนั้นในระยะแรกของการใช้การสอนวิธีนี้ จำเป็นต้องพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นก่อน

อินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

อินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่ายเปิดที่สามารถเชื่อมโยงได้ตลอดเวลา ผู้ที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจึงสามารถเข้าถึงข้อมูล หรือเรียกใช้บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายได้เมื่อต้องการ บริการต่าง ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นมีดังนี้
1. Email เป็นการรับ-ส่งจดหมายผ่านเครือข่าย ที่สามารถนำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล และยังสามารถส่งแฟ้มคอมพิวเตอร์ชนิดต่าง ๆ ไปพร้อมกับจดหมายได้ด้วย การใช้ email นี้แต่ละคนที่ติดต่อกันไม่จำเป็นต้องเข้าระบบเครือข่ายในเวลาเดียวกัน หรือใช้ในลักษณะ Asynchronous access การนำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น อาจนำมาใช้ในลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้
- การปรึกษาหารือระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
- การปรึกษาหารือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
- การปรึกษาหารือระหว่างผู้เรียนกับผู้เชี่ยวชาญภายนอก
- การเก็บรวบรวมข้อมูลหรือแนวคิดจากบุคคลต่าง ๆ
- การส่งงานที่เป็นแฟ้มคอมพิวเตอร์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
- การส่งเอกสารที่เป็นแฟ้มคอมพิวเตอร์ระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องในการเรียนการสอน
2. Chat เป็นการเปิดพื้นที่ในการสนทนาระหว่างบุคคลและเป็นกลุ่มที่สนใจประเด็นในการสนทนาร่วมกัน สามารถนำมาใช้ได้ในลักษณะของการเปิดอภิปรายเนื้อหาวิชา ซึ่งผู้เข้าร่วมต้องเข้าสู่ห้องคุยในเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นการใช้ในลักษณะ Synchronous access เหมาะที่จะนำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนในชั่วโมงเรียน ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนที่อยู่ต่างโรงเรียนหรือต่างสถานที่กันทำกิจกรรมการเรียนร่วมกัน โดยมีผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมกิจกรรมการอภิปรายอยู่ด้วย เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการตอบประเด็นที่สำคัญ ๆ
3. Web Board เป็นการสร้างพื้นที่สำหรับการส่งข้อความ ที่อาจจะเป็นคำถาม ความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของนักเรียน ผู้สอน และผู้เชี่ยวชาญ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมใน Web Board นี้ไม่จำเป็นต้องเข้ามาในเวลาเดียวกัน คือใช้ในลักษณะ Asynchronous access สามารถนำมาใช้ในการเปิดประเด็นอภิปราย แล้วให้ผู้เข้าร่วมแต่ละคนเสนอความคิดเห็นของตัวเองขึ้นไว้ เมื่อให้เวลาในการร่วมแสดงความคิดเห็นสักระยะเวลาหนึ่งที่เหมาะสมแล้ว ก็มีผู้สรุปประเด็นหรือข้อความรู้ที่ได้ ซึ่งอาจจะเป็นผู้สอน หรือมอบหมายให้ผู้เรียนรับผิดชอบการสรุปก็ได้
4. WWW (World Wide Web) เป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างกว้างขวาง เช่น การนำเสนอบทเรียน กิจกรรมการเรียนการสอน บทเรียน CAI ที่เก็บไว้ใน CAI Server บทเรียนจาก Video ที่เก็บไว้ใน Video Server การเชื่อมโยงสู่แหล่งความรู้บนอินเตอร์เน็ต รวมถึงการสืบค้นแหล่งความรู้บนอินเตอร์เน็ตโดยใช้ Search Tools ต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนา Search Tools ที่เป็นภาษาไทยได้แล้ว ให้ท่านทดลองใช้ได้ที่ http://www.siamguru.com ซึ่งเป็น Website ที่พัฒนาโดยคนไทย ผลการทดลองใช้เป็นอย่างไร แจ้งให้ทราบด้วยเพื่อจะได้ส่งข้อเสนอแนะไปให้ผู้พัฒนาเครื่องมือการสืบค้นที่เป็นภาษาไทยตัวนี้ให้ดีขึ้น เพื่อประโยชน์ของคนไทยต่อไป

แนวคิดการประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ตในโรงเรียนนั้นมีมากมาย ขอให้ท่านเข้าไปศึกษาจากเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ http://ednet.kku.ac.th/jour2-4.html จะช่วยให้ได้แนวคิดที่หลากหลายขึ้น

บทสรุป

การประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน จะเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความพร้อมของทั้งผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะที่เป็นพื้นฐานในการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่าย ซึ่งได้แก่ ความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) ทักษะการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบนเครือข่าย ทักษะทางด้านการใช้ระบบเครือข่าย ทักษะการผลิตสื่อการเรียนการสอนบนเครือข่าย ทักษะการสอนและการประเมินผลผ่านระบบเครือข่าย เป็นต้น ส่วนผู้เรียนนั้นก็ต้องมีทักษะในการใช้สื่อการเรียนการสอนบนระบบเครือข่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ Internet ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นการเตรียมความพร้อมทั้งผู้สอนและผู้เรียนเพื่อการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายในการเรียนการสอนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน โดยสถาบันอุดมศึกษาในส่วนภูมิภาคจะต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาทั้งผู้สอนและผู้เรียนในระดับโรงเรียนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ทั้งนี้หน่วยงานของรัฐและเอกชนจะต้องเข้ามามีส่วนในการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน และระดมทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายในการพัฒนาการเรียนการสอนเกิดขึ้นได้ตามเป้าหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติต่อไป




นางสาว อิสตรี อินทรกำแหง

เลขที่55 ปี1

yingtae_classic


มือสมัครเล่น
มือสมัครเล่น

อาจารย์ ค่ะ ช่วงบ่าย

นู๋ ติดธุระ ไป อาจไปนั่งศึกษาได้

จึงขอลา เป็น เวลา ครึ่ง วัน นะค่ะ

แล้ว จะติดตามส่งงานทุกชิ้นค่ะ

อาจารย์ เช็ค อิสตรี ขาดยัง ค่ะ

เสียใจ อย่างแร๊งงง

ปล. รักและเคารพ

yingtae_classic


มือสมัครเล่น
มือสมัครเล่น

ต้องขอ อภัย อย่างคักๆๆๆเน๊อ คุล ครู

ไม่ได้ ตั้ง จ๊าย จะตั้ง กระทู้ แข่ง จ๊า แต่ส่งงาน ผิด คริๆๆ

ห้าม เคือง นะค่ะ หาก ไม่เป้นการ รบกวน จนมากเกินไป

ฝาก ลบ ทิ้ง ด้วย นะค่ะ ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

sumarin


เด็กใหม่เทคโนฯ
เด็กใหม่เทคโนฯ

ลักษณะของการสอนที่ดี
การสอนมีอยู่มากมายหลายวิธี แต่ละวิธีก็จะมีข้อเด่นข้อด้อยในตัวเอง อย่างไรก็ตามแนวคิดเกี่ยวกับการสอนในปัจจุบัน มุ่งเน้นการสอนที่สามารถพัฒนาผู้เรียนได้ครบทั้งความรู้ ทักษะ และทัศนคติ โดยอาศัยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นลักษณะการสอนที่ดีจึงควรมีลักษณะดังนี้
1.ต้องมีวัตถุประสงค์ของบทเรียน มีการเตรียมเนื้อหา สื่อการเรียนการสอน และการประเมินผลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทเรียน
2.ต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยต้องคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน ในด้านวัย ประสบการณ์เดิมและความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นหลัก
3.ต้องสร้างบรรยากาศให้เหมาะแก่การเรียนรู้ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและอารมณ์ของผู้เรียน
4.มุ่งให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ความสามารถ ทักษะและทัศนคติพร้อมที่จะประพฤติตนเป็นคนดี
5.ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
6.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดค้นหาเหตุผลความเป็นไปของสิ่งที่เรียน ไม่ใช่ข้อเท็จจริงจากตำราหรือคำบอกเล่าอย่างเดียว
7.สร้างความสัมพันธ์ของเนื้อหาและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประสบการณ์ที่ต่อเนื่องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
8.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน การดำเนินกิจกรรม และการประเมินผลการเรียนการสอน
9.ไม่ควรยึดมั่นในวิธีสอนวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงวิธีเดียว ควรเสาะหาวิธีที่เหมาะสมกับการสอนแต่ละเนื้อหา
10.ต้องมีการประเมินผลตลอดเวลา โดยใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การสังเกต การซักถาม และการทดสอบ เพื่อให้แน่ใจว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์

การสอนแบบค้นพบความรู้
การสอนแบบค้นพบความรู้ (Discovery) เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนค้นพบคำตอบหรือความรู้ด้วยตนเอง การค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนนี้เป็นผลมาจากที่ได้เผชิญกับปัญหาหรือสถานการณ์ แล้วรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยอาจจะใช้วิธีการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร การทดลอง การสอบถามจากผู้รู้หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เมื่อได้ข้อมูลมากพอที่จะนำมาวิเคราะห์ เพื่อลงข้อสรุปเป็นคำตอบหรือความรู้ที่ต้องการ จึงยุติการศึกษาค้นคว้าในประเด็นนั้น การเรียนรู้โดยวิธีการค้นพบความรู้นี้ เป็นกระบวนการอย่างเดียวกับที่นักนักคณิตศาสตร์ศึกษาคณิตศาสตร์ นักเคมีศึกษาค้นคว้าทางเคมี นักประวัติศาสตร์ศึกษาประวัติศาสตร์ นักภาษาศึกษาทางด้านภาษา หรือศิลปินศึกษาค้นคว้างานทางด้านศิลปะ จะเห็นว่าวิธีการสอนแบบนี้สามารถนำมาใช้ในการสอนได้ทุกวิชา เพราะเป็นวิธีการที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมการเรียน หรือเป็นผู้กระทำกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้เอง ทั้งนี้เป็นการติดอาวุธทางปัญญาให้กับผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับปวงชน ซึ่งสอดคล้องกับ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2542 มาตรา 8 และ มาตารา 22


ข้อดีของการสอนแบบค้นพบความรู้
1.การที่ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเองทำให้สามารถจดจำความรู้นั้นได้นาน มีความภูมิใจและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะศึกษาในเรื่องนั้นต่อไปอีก
2.ผู้เรียนมีโอกาสพัฒนาทักษะและเจตคติที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง
3.ผู้เรียนมีโอกาสพัฒนาทักษะทางสมองระดับสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการหยั่งรู้ (Intuitive Thinking)
4.ผู้เรียนมีโอกาสฝึกทักษะการอ้างอิงโดยใช้การคิดอย่างมีเหตุผล ทั้งการคิดแบบอุปนัย (Inductive Thinking) และการคิดแบบนิรนัย (Deductive Thinking)
5.ผู้เรียนจะเรียนรู้โดยเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งในสิ่งที่ตัวเองศึกษา

ข้อจำกัดของการสอนแบบค้นพบความรู้
1.เป็นวิธีการเรียนที่ผู้เรียนแต่ละคนใช้เวลาในการเรียนค่อนข้างมาก และผู้เรียนแต่ละคนจะใช้เวลาไม่เท่ากัน
2.เอกสารตำราและสื่อการเรียนอื่น ๆ ในปัจจุบัน จะผลิตขึ้นในรูปของการบอกความรู้ให้กับผู้เรียนมากกว่าการให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเอง
3.ผู้เรียนมักจะค้นพบสิ่งต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากสิ่งที่ต้องการให้ค้นพบ ทำให้ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้าขยายกรอบกว้างมากเกินไป
4.ผู้เรียนบางคนไม่สามารถค้นพบความรู้ตามที่มุ่งหวังไว้ ทั้งนี้อาจมาจากขาดทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการเรียนรู้โดยวิธีนี้

แนวทางการจัดกิจกรรมการสอนแบบค้นพบความรู้ให้มีประสิทธิภาพ
จากข้อดีและข้อจำกัดของการสอนแบบค้นพบความรู้ด้วยตนเองดังกล่าว การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนโดยวิธีนี้ จึงน่าจะดำเนินการให้มีประสิทธิภาพได้ดังนี้
1.ผู้สอนจะต้องรอบรู้ในวิชานั้น เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหา หรือให้คำแนะนำในกรณีที่ผู้เรียนค้นพบความรู้ที่ไม่ได้คาดหวังมาก่อน
2.การกำหนดปัญหาและสถานการณ์เพื่อให้เกิดการค้นพบความรู้ จะต้องวางแผนอย่างรอบคอบ และมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน
3.จะต้องมีอุปกรณ์ สื่อการเรียนและแหล่งข้อมูลสำหรับการเรียนอย่างเหมาะสม
4.ต้องมีการประเมินผลเพื่อพิจารณาทั้งในด้านความรู้และกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียน
5.ควรสร้างโอกาสให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การค้นพบความรู้ของตนกับผู้อื่นทั้ง เพื่อนในชั้นเรียน เพื่อนต่างโรงเรียน ครู อาจารย์ หรือผู้รู้อื่น ๆ
6.การค้นพบความรู้ได้นั้น นอกจากผู้เรียนต้องมีเวลามากพอแล้ว ยังต้องมีพื้นฐานความรู้ที่เพียงพอ มีความสามารถในการสร้างความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยการสังเกต การรวบรวม จัดหมวดหมู่ ตีความหมาย และลงข้อสรุปจากข้อมูลที่รวบรวมมาทั้งหมด ดังนั้นในระยะแรกของการใช้การสอนวิธีนี้ จำเป็นต้องพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นก่อน

อินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

อินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่ายเปิดที่สามารถเชื่อมโยงได้ตลอดเวลา ผู้ที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจึงสามารถเข้าถึงข้อมูล หรือเรียกใช้บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายได้เมื่อต้องการ บริการต่าง ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นมีดังนี้
1.Email เป็นการรับ-ส่งจดหมายผ่านเครือข่าย ที่สามารถนำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล และยังสามารถส่งแฟ้มคอมพิวเตอร์ชนิดต่าง ๆ ไปพร้อมกับจดหมายได้ด้วย การใช้ email นี้แต่ละคนที่ติดต่อกันไม่จำเป็นต้องเข้าระบบเครือข่ายในเวลาเดียวกัน หรือใช้ในลักษณะ Asynchronous access การนำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น อาจนำมาใช้ในลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้
-การปรึกษาหารือระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
-การปรึกษาหารือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
-การปรึกษาหารือระหว่างผู้เรียนกับผู้เชี่ยวชาญภายนอก
-การเก็บรวบรวมข้อมูลหรือแนวคิดจากบุคคลต่าง ๆ
-การส่งงานที่เป็นแฟ้มคอมพิวเตอร์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
-การส่งเอกสารที่เป็นแฟ้มคอมพิวเตอร์ระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องในการเรียนการสอน
2.Chat เป็นการเปิดพื้นที่ในการสนทนาระหว่างบุคคลและเป็นกลุ่มที่สนใจประเด็นในการสนทนาร่วมกัน สามารถนำมาใช้ได้ในลักษณะของการเปิดอภิปรายเนื้อหาวิชา ซึ่งผู้เข้าร่วมต้องเข้าสู่ห้องคุยในเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นการใช้ในลักษณะ Synchronous access เหมาะที่จะนำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนในชั่วโมงเรียน ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนที่อยู่ต่างโรงเรียนหรือต่างสถานที่กันทำกิจกรรมการเรียนร่วมกัน โดยมีผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมกิจกรรมการอภิปรายอยู่ด้วย เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการตอบประเด็นที่สำคัญ ๆ
3.Web Board เป็นการสร้างพื้นที่สำหรับการส่งข้อความ ที่อาจจะเป็นคำถาม ความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของนักเรียน ผู้สอน และผู้เชี่ยวชาญ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมใน Web Board นี้ไม่จำเป็นต้องเข้ามาในเวลาเดียวกัน คือใช้ในลักษณะ Asynchronous access สามารถนำมาใช้ในการเปิดประเด็นอภิปราย แล้วให้ผู้เข้าร่วมแต่ละคนเสนอความคิดเห็นของตัวเองขึ้นไว้ เมื่อให้เวลาในการร่วมแสดงความคิดเห็นสักระยะเวลาหนึ่งที่เหมาะสมแล้ว ก็มีผู้สรุปประเด็นหรือข้อความรู้ที่ได้ ซึ่งอาจจะเป็นผู้สอน หรือมอบหมายให้ผู้เรียนรับผิดชอบการสรุปก็ได้
4.WWW (World Wide Web) เป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างกว้างขวาง เช่น การนำเสนอบทเรียน กิจกรรมการเรียนการสอน บทเรียน CAI ที่เก็บไว้ใน CAI Server บทเรียนจาก Video ที่เก็บไว้ใน Video Server การเชื่อมโยงสู่แหล่งความรู้บนอินเตอร์เน็ต รวมถึงการสืบค้นแหล่งความรู้บนอินเตอร์เน็ตโดยใช้ Search Tools ต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนา Search Tools ที่เป็นภาษาไทยได้แล้ว ให้ท่านทดลองใช้ได้ที่ http://www.siamguru.com ซึ่งเป็น Website ที่พัฒนาโดยคนไทย ผลการทดลองใช้เป็นอย่างไร แจ้งให้ทราบด้วยเพื่อจะได้ส่งข้อเสนอแนะไปให้ผู้พัฒนาเครื่องมือการสืบค้นที่เป็นภาษาไทยตัวนี้ให้ดีขึ้น เพื่อประโยชน์ของคนไทยต่อไป

แนวคิดการประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ตในโรงเรียนนั้นมีมากมาย ขอให้ท่านเข้าไปศึกษาจากเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ http://ednet.kku.ac.th/jour2-4.html จะช่วยให้ได้แนวคิดที่หลากหลายขึ้น

บทสรุป

การประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน จะเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความพร้อมของทั้งผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะที่เป็นพื้นฐานในการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่าย ซึ่งได้แก่ ความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) ทักษะการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบนเครือข่าย ทักษะทางด้านการใช้ระบบเครือข่าย ทักษะการผลิตสื่อการเรียนการสอนบนเครือข่าย ทักษะการสอนและการประเมินผลผ่านระบบเครือข่าย เป็นต้น ส่วนผู้เรียนนั้นก็ต้องมีทักษะในการใช้สื่อการเรียนการสอนบนระบบเครือข่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ Internet ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นการเตรียมความพร้อมทั้งผู้สอนและผู้เรียนเพื่อการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายในการเรียนการสอนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน โดยสถาบันอุดมศึกษาในส่วนภูมิภาคจะต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาทั้งผู้สอนและผู้เรียนในระดับโรงเรียนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ทั้งนี้หน่วยงานของรัฐและเอกชนจะต้องเข้ามามีส่วนในการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน และระดมทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายในการพัฒนาการเรียนการสอนเกิดขึ้นได้ตามเป้าหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติต่อไป


น.ส. สุมารินทร์ เจียมทอง เลขที่ 43
สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา ชั้นปีที่ 1

saowaluk


เด็กใหม่เทคโนฯ
เด็กใหม่เทคโนฯ

หลักการสอนที่ดี คือ ผู้สอน วิธีการสอน และการเรียนรู้ บรรยากาศ สิ่งแวดล้อมต้องมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันผู้สอนจะต้องมีจรรยาบรรณแห่งความเป็นครูวิธีการสอนคือกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้สอนกับผู้เรียนจะต้องสอดคล้องเหมาะสมเพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีเพื่อให้การสอนบรรลุตามเป้าหมาย ผู้สอนต้องเตรียมการสอนมาอย่างดี ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทุกด้าน จัดการสอนอย่างมีกระบวนการ และให้ครบองค์ประกอบการสอน ได้แก่ การตั้งจุดประสงค์การสอน การกำหนดเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อการสอน และการวัดผลประเมินผลต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ตรงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรนอกจากนี้ผู้สอนควรได้คำนึงถึงหลักพื้นฐานในการสอนลักษณะการสอนที่ดีและปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดจนรู้จักใช้หลักการสอนให้สอดคล้องกับหลักการเรียนรู้หลักจิตวิทยาบรรยากาศเป็นประชาธิปไตย ก็จะช่วยให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร



นางสาวเสาวลักษณ์ งามแฉล้ม
เลขที่ 44 ปี 1

krittaya


เด็กใหม่เทคโนฯ
เด็กใหม่เทคโนฯ

ลักษณะการสอนที่ดี

การสอนที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
1. มีการส่งเสริมนักเรียนให้เรียนด้วยการกระทำ การได้ลงมือทำจริง ให้ประสบการณ์ที่มีความหมาย
2. มีการส่งเสริมนักเรียนให้เรียนด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน การทำงานร่วมกับผู้อื่น
3. มีการตอบสนองความต้องการของนักเรียน เรียนด้วยความสุข ความสนใจ กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
4. มีการสอนให้สัมพันธ์ระหว่างวิชาที่เรียนกับวิชาอื่น ๆ ในหลักสูตรเป็นอย่างดี
5. มีการใช้สื่อการสอน จำพวกโสตทัศนวัสดุ เพื่อเร้าความสนใจ ช่วย ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น
6. มีกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเร้าความสนใจ ผู้เรียนสนุกสนาน ได้ลงมือปฏิบัติจริง และดูผลการปฏิบัติของตนเอง
7. มีการส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ ด้วยการซักถาม หรือให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาง่ายๆ เด็กคิดหาเหตุผลเปรียบเทียบ และพิจารณาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ
8. มีการส่งเสริมความคิดริเริ่ม และความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมการคิดทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ดีมีประโยชน์ไม่เลียนแบบใคร ส่งเสริมกิจกรรมสุนทรียภาพ ร้อยกรอง วาดภาพ และแสดงละคร
9. มีการใช้การจูงใจ ในระหว่างเรียน เช่น รางวัล การชมเชย คะแนนแข่งขัน เครื่องเชิดชูเกียรติ การลงโทษ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสนใจ ตั้งใจ ขยันหมั่นเพียรในการเรียนและทำกิจกรรม
10. มีการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแบบประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น มีการรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ยกย่องความคิดเห็นที่ดี นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนร่วมกับครู
11. มีการเร้าความสนใจก่อนลงมือทำการสอนเสมอ
12. มีการประเมินผลตลอกเวลา โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสังเกต การซักถาม การทดสอบ เพื่อให้แน่ใจว่าการสอนของครูตรงตามจุดประสงค์มากที่สุด
นอกจากนี้ ยังมีนักศึกษาให้นิยามลักษณะการสอนที่ดีไว้อีกหลายท่าน ดังนี้อมรวิชช์ นาครทรรพ (2539) และ พนม พงษ์ไพบูลย์ (2543) สนับสนุนประเด็นที่ว่าครูควรมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน โดยแสดงความคิดเห็นซึ่งสรุปได้ว่า ในโลกยุคใหม่ การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นได้กับทุกคน ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนของครูจึงควรสอดคล้องกับแนวการปฏิรูปการศึกษา โดยผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้อำนวยความสะดวก และลักษณะการสอนจะต้องมีความหลากหลาย สอนให้นักเรียนรู้จักคิด คิดเป็น ทำเป็น มีวิจารณญาณของตนเอง โดยครูจะต้องคอยให้คำชี้แนะบทบาทของครูในอนาคตคือ การสอนวิธีหาความรู้ในโลกแห่งความรู้อันมากมายที่ไม่อาจสอนได้หมดนอกจากนั้น Ward (1994) ซึ่งให้ความสำคัญต่อการสอนวิธีเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน (learning to learn) ได้กล่าวว่า ครูจะต้องเป็นผู้อำนวยการความสะดวกในการเรียนรู้ (learning facilitator) มีความรู้ความเข้าใจในระบบพื้นฐาน
ทางกายภาพที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ใช้วิธีการสอนที่หลากหลายซึ่งมีความเหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคล รู้จักจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้มีลักษณะจูงใจ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
จากพื้นฐานเดิม และสามารถกำหนดเป้าหมายของตนเองได้ ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูจะต้องคำนึงถึงความสนใจ ความต้องการ และแรงจูงใจ ที่จะทำให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ รู้จักคิด วิเคราะห์ มีส่วนร่วม และรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเองยิ่งไปกว่านั้น สภาพปัญหาคุณภาพการศึกษาที่เกิดขึ้น จนจำเป็นต้องปฏิรูปการศึกษา เป็นเพราะการศึกษาของประเทศเราเน้นที่การถ่ายทอดเนื้อหาในห้องเรียน และการท่องจำจากตำราเป็นส่วนใหญ่ ผู้เรียนขาดประสบการณ์และการศึกษาจากความเป็นจริงรอบตัวทั้งใกล้และไกล การเรียนไม่ได้เน้นวิธีคิด จึงขาดวิจารณญาณว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง (ประเวศ วะสี, 2539) ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการสอนของครูซึ่งไม่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการเรียนรู้ แต่ประพฤติตนเป็นผู้บอกหรือถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ ทั้งๆ ที่การสอนหมายถึง การจัดสภาพการณ์ จัดสถานการณ์หรือจัดกิจกรรม อันเป็นการวางแผนการที่จะทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนดำเนินไปด้วยความสะดวก รวมทั้งการจัดการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ หรือจัดกิจกรรมอื่นๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่มีพิธีรีตอง (Good, 1975, หน้า 588) รวมทั้ง ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น เกิดความงอกงามในด้านกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ตลอดจนความสามารถด้านอื่นๆ ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิต (สุพิน บุญชูวงศ์, 2544) ดังนั้น การเรียกร้องให้ครูเปลี่ยนแปลงบทบาทจากผู้สอนไปเป็นผู้อำนวยความสะดวกหรือผู้จัดการเรียนรู้ จึงเป็นความพยายามที่จะแสดงให้เห็นถึงประเด็นที่คววามเป็นจุดเน้นในพฤติกรรมการสอนของครู โดยใช้คำว่าการจัดการเรียนรู้แทนคำว่าการสอน ซึ่งเป็นการย้ำเตือนครให้ตระหนักถึงความหมายของการสอนที่หลงลืมกันไปอาภรณ์ ใจเที่ยง (2540) กล่าวถึงลักษณะการสอนที่ดี 13 ประการ ประกอบด้วย การสอนที่มีการเตรียมการสมาอย่างดี ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทุกด้าน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องวัตถุประสงค์ ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม ตรงตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร มุ่งให้ผู้เรียนนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เร้า
วามสนใจผู้เรียน มีบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้ ใช้หลักจิตวิทยาการเรียนรู้ที่เหมาะสม บรรยากาศเป็นประชาธิปไตย มีกระบวนการที่ดี ใช้หลักการวัดผลและประเมินผลการเรียน และผู้สอนมีความเป็นครู ทั้งนี้ หากคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์ การสอนในยุคนี้ (ศักดิ์สิทธิ์ พันธ์เขียว, 2542)ควรมีการจัดสภาพการณ์ที่ให้ผู้เรียนมีสมรรถภาพทางคอมพิวเตอร์ มีการใช้สื่อประสมและสื่อการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถศึกษาค้นคว้าทางวิชาการได้ทุกหนทุกแห่ง ทุกสถานที่ ไม่จำกัดเฉพาะในห้องเรียน หรือในโรงเรียน มีการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ได้เรียนรู้จากการทดลอง การฝึกการสังเกต การวิเคราะห์วิจัย การบันทึก การเสนอผลงาน การอภิปราย การซักถามและการฟัง มีการแสวงหาความรู้ ค้นหาคำตอบจากแหล่งวิชาการต่างๆ ด้วยตนเอง จนกระทั่งมีความรู้อย่างแท้จริง สิ่งที่กล่าวมานี้ ทำให้มองเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า การสอนที่ดีจะต้องเน้นกระบวนการจัดการเรียนรู้ชนาธิป พรกุล. (2543) สนับสนุนว่า ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้เช่นกัน โดยกล่าวถึงบทบาทของครูว่า การจัดการเรียนการสอนที่ครูเคยเป็นศูนย์กลางจะต้องเปลี่ยนมาเป็การจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ครูต้องหาทางให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เอง รู้วิธีเรียน และรักที่จะเรียนรู้ ครูจะต้องเปลี่ยนมาเป็นผู้อำนวยความสะดวก โดยรับบทบาทใหม่ดังนี้
1. ผู้จัดระบบการเรียนการสอน เริ่มตั้งแต่การศึกษาหลักสูตร ตลอดจนวางแผนการเรียนการสอน การจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ เลือก ผลิตและใช้สื่อการเรียนการสอนวัดผลและประเมินผล และรวมไปถึงการจัดระเบียบวินัย
ในชั้นเรียน
2. ผู้จัดบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ด้านกายภาพ ได้แก่ การจัดชั้นเรียน วัสดุอุปกรณ์แสงสว่าง ระบบเสียงให้นักเรียนรู้สึกสบายและอยากเรียน ส่วนด้านจิตวิทยา ได้แก่ การจัดชั้นเรียนให้ผู้เรียนมีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน กล้าคิด กล้าทำ ให้โอกาสผู้เรียนได้ประสบความสำเร็จทุกคน
3. ผู้ชี้นำหรือแนะแนวทาง เพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าหาความรู้โดยการสังเกต การสำรวจ การทดลอง ซึ่งเป็นวิธีการให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
4. ผู้สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน เพื่อพร้อมที่จะเข้าใจ ช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน เพื่อให้ผู้ได้เรียนรู้ได้อย่างราบรื่น
5. ผู้เสริมแรง เพื่อให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่ครูต้องการ และเป็นการย้ำให้ผู้เรียนมั่นใจในการกระทำของตนเอง จะได้พัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น โดยเลือกโอกาสในการเสริมแรงให้เหมาะสม
6. ผู้ถามคำถาม เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนคิด และใช้คำถามเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสติปัญญาของผู้เรียน
7. ผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับ เมื่อผู้เรียนลงมือปฏิบัติย่อมต้องการทราบผลการกระทำของตน ดังนั้นเพื่อให้ผู้เรียนมีกำลังใจ ครูจะต้องมีวิธีการส่งเสริมการเรียนรู้ดังนั้น แนวคิดในการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เขียนเชื่อว่ามีความเหมาะสมในการนำมประกอบการออกแบบนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ คือการกำหนดบทบาทให้ครูมีฐานะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ทำหน้าที่วางแผนจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้คิด ลงมือปฏิบัติจริง แสวงหาความรู้และ
การสอนที่ดี....

การสอนที่ดี ควรสอนจากง่ายไปหายาก หรือจากสิ่งที่รู้แล้วไปหาสิ่งที่ยังไม่รู้
โดยเฉพาะประโยค ๑-๒ เป็นประโยคเริ่มแรกเรียน ควรสอนแปลอุภัยพากย์
หรือแปลท้องนิทานก่อน เมื่อเห็นว่าผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจพอสมควรแล้ว
จึงสอนแปลคาถา และอรรถกถา
แม้ประโยคยาสมาสซับซ้อน ก็ควรหาวิธีสอนโดยตัดเป็นประโยคสั้น ๆ ให้แปลง่าย ๆ ก่อนแล้วจึงรวมเป็นประโยค ดังนี้..
อตฺตนา วนปฺปติ รุกฺโข ปาลิโต.
เสฏฺฐินา ปุตฺโต อตฺตนา ปาลิตํ วนปฺปตึ นิสฺสาย ลทฺโธ.
เสฏฺฐินา อตฺตนา ปาลิตํ วนปฺปตึ นิสฺสาย ลทฺธตฺตา
ตสฺส ปาโลติ นามํ อกาสิ.
เช่นนี้ จะช่วยให้นักเรียนสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น

krittaya


เด็กใหม่เทคโนฯ
เด็กใหม่เทคโนฯ

ลักษณะการสอนที่ดี

การสอนที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
1. มีการส่งเสริมนักเรียนให้เรียนด้วยการกระทำ การได้ลงมือทำจริง ให้ประสบการณ์ที่มีความหมาย
2. มีการส่งเสริมนักเรียนให้เรียนด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน การทำงานร่วมกับผู้อื่น
3. มีการตอบสนองความต้องการของนักเรียน เรียนด้วยความสุข ความสนใจ กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
4. มีการสอนให้สัมพันธ์ระหว่างวิชาที่เรียนกับวิชาอื่น ๆ ในหลักสูตรเป็นอย่างดี
5. มีการใช้สื่อการสอน จำพวกโสตทัศนวัสดุ เพื่อเร้าความสนใจ ช่วย ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น
6. มีกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเร้าความสนใจ ผู้เรียนสนุกสนาน ได้ลงมือปฏิบัติจริง และดูผลการปฏิบัติของตนเอง
7. มีการส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ ด้วยการซักถาม หรือให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาง่ายๆ เด็กคิดหาเหตุผลเปรียบเทียบ และพิจารณาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ
8. มีการส่งเสริมความคิดริเริ่ม และความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมการคิดทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ดีมีประโยชน์ไม่เลียนแบบใคร ส่งเสริมกิจกรรมสุนทรียภาพ ร้อยกรอง วาดภาพ และแสดงละคร
9. มีการใช้การจูงใจ ในระหว่างเรียน เช่น รางวัล การชมเชย คะแนนแข่งขัน เครื่องเชิดชูเกียรติ การลงโทษ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสนใจ ตั้งใจ ขยันหมั่นเพียรในการเรียนและทำกิจกรรม
10. มีการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแบบประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น มีการรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ยกย่องความคิดเห็นที่ดี นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนร่วมกับครู
11. มีการเร้าความสนใจก่อนลงมือทำการสอนเสมอ
12. มีการประเมินผลตลอกเวลา โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสังเกต การซักถาม การทดสอบ เพื่อให้แน่ใจว่าการสอนของครูตรงตามจุดประสงค์มากที่สุด
นอกจากนี้ ยังมีนักศึกษาให้นิยามลักษณะการสอนที่ดีไว้อีกหลายท่าน ดังนี้อมรวิชช์ นาครทรรพ (2539) และ พนม พงษ์ไพบูลย์ (2543) สนับสนุนประเด็นที่ว่าครูควรมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน โดยแสดงความคิดเห็นซึ่งสรุปได้ว่า ในโลกยุคใหม่ การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นได้กับทุกคน ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนของครูจึงควรสอดคล้องกับแนวการปฏิรูปการศึกษา โดยผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้อำนวยความสะดวก และลักษณะการสอนจะต้องมีความหลากหลาย สอนให้นักเรียนรู้จักคิด คิดเป็น ทำเป็น มีวิจารณญาณของตนเอง โดยครูจะต้องคอยให้คำชี้แนะบทบาทของครูในอนาคตคือ การสอนวิธีหาความรู้ในโลกแห่งความรู้อันมากมายที่ไม่อาจสอนได้หมดนอกจากนั้น Ward (1994) ซึ่งให้ความสำคัญต่อการสอนวิธีเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน (learning to learn) ได้กล่าวว่า ครูจะต้องเป็นผู้อำนวยการความสะดวกในการเรียนรู้ (learning facilitator) มีความรู้ความเข้าใจในระบบพื้นฐาน
ทางกายภาพที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ใช้วิธีการสอนที่หลากหลายซึ่งมีความเหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคล รู้จักจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้มีลักษณะจูงใจ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
จากพื้นฐานเดิม และสามารถกำหนดเป้าหมายของตนเองได้ ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูจะต้องคำนึงถึงความสนใจ ความต้องการ และแรงจูงใจ ที่จะทำให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ รู้จักคิด วิเคราะห์ มีส่วนร่วม และรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเองยิ่งไปกว่านั้น สภาพปัญหาคุณภาพการศึกษาที่เกิดขึ้น จนจำเป็นต้องปฏิรูปการศึกษา เป็นเพราะการศึกษาของประเทศเราเน้นที่การถ่ายทอดเนื้อหาในห้องเรียน และการท่องจำจากตำราเป็นส่วนใหญ่ ผู้เรียนขาดประสบการณ์และการศึกษาจากความเป็นจริงรอบตัวทั้งใกล้และไกล การเรียนไม่ได้เน้นวิธีคิด จึงขาดวิจารณญาณว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง (ประเวศ วะสี, 2539) ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการสอนของครูซึ่งไม่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการเรียนรู้ แต่ประพฤติตนเป็นผู้บอกหรือถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ ทั้งๆ ที่การสอนหมายถึง การจัดสภาพการณ์ จัดสถานการณ์หรือจัดกิจกรรม อันเป็นการวางแผนการที่จะทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนดำเนินไปด้วยความสะดวก รวมทั้งการจัดการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ หรือจัดกิจกรรมอื่นๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่มีพิธีรีตอง (Good, 1975, หน้า 588) รวมทั้ง ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น เกิดความงอกงามในด้านกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ตลอดจนความสามารถด้านอื่นๆ ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิต (สุพิน บุญชูวงศ์, 2544) ดังนั้น การเรียกร้องให้ครูเปลี่ยนแปลงบทบาทจากผู้สอนไปเป็นผู้อำนวยความสะดวกหรือผู้จัดการเรียนรู้ จึงเป็นความพยายามที่จะแสดงให้เห็นถึงประเด็นที่คววามเป็นจุดเน้นในพฤติกรรมการสอนของครู โดยใช้คำว่าการจัดการเรียนรู้แทนคำว่าการสอน ซึ่งเป็นการย้ำเตือนครให้ตระหนักถึงความหมายของการสอนที่หลงลืมกันไปอาภรณ์ ใจเที่ยง (2540) กล่าวถึงลักษณะการสอนที่ดี 13 ประการ ประกอบด้วย การสอนที่มีการเตรียมการสมาอย่างดี ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทุกด้าน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องวัตถุประสงค์ ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม ตรงตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร มุ่งให้ผู้เรียนนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เร้า
วามสนใจผู้เรียน มีบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้ ใช้หลักจิตวิทยาการเรียนรู้ที่เหมาะสม บรรยากาศเป็นประชาธิปไตย มีกระบวนการที่ดี ใช้หลักการวัดผลและประเมินผลการเรียน และผู้สอนมีความเป็นครู ทั้งนี้ หากคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์ การสอนในยุคนี้ (ศักดิ์สิทธิ์ พันธ์เขียว, 2542)ควรมีการจัดสภาพการณ์ที่ให้ผู้เรียนมีสมรรถภาพทางคอมพิวเตอร์ มีการใช้สื่อประสมและสื่อการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถศึกษาค้นคว้าทางวิชาการได้ทุกหนทุกแห่ง ทุกสถานที่ ไม่จำกัดเฉพาะในห้องเรียน หรือในโรงเรียน มีการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ได้เรียนรู้จากการทดลอง การฝึกการสังเกต การวิเคราะห์วิจัย การบันทึก การเสนอผลงาน การอภิปราย การซักถามและการฟัง มีการแสวงหาความรู้ ค้นหาคำตอบจากแหล่งวิชาการต่างๆ ด้วยตนเอง จนกระทั่งมีความรู้อย่างแท้จริง สิ่งที่กล่าวมานี้ ทำให้มองเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า การสอนที่ดีจะต้องเน้นกระบวนการจัดการเรียนรู้ชนาธิป พรกุล. (2543) สนับสนุนว่า ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้เช่นกัน โดยกล่าวถึงบทบาทของครูว่า การจัดการเรียนการสอนที่ครูเคยเป็นศูนย์กลางจะต้องเปลี่ยนมาเป็การจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ครูต้องหาทางให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เอง รู้วิธีเรียน และรักที่จะเรียนรู้ ครูจะต้องเปลี่ยนมาเป็นผู้อำนวยความสะดวก โดยรับบทบาทใหม่ดังนี้
1. ผู้จัดระบบการเรียนการสอน เริ่มตั้งแต่การศึกษาหลักสูตร ตลอดจนวางแผนการเรียนการสอน การจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ เลือก ผลิตและใช้สื่อการเรียนการสอนวัดผลและประเมินผล และรวมไปถึงการจัดระเบียบวินัย
ในชั้นเรียน
2. ผู้จัดบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ด้านกายภาพ ได้แก่ การจัดชั้นเรียน วัสดุอุปกรณ์แสงสว่าง ระบบเสียงให้นักเรียนรู้สึกสบายและอยากเรียน ส่วนด้านจิตวิทยา ได้แก่ การจัดชั้นเรียนให้ผู้เรียนมีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน กล้าคิด กล้าทำ ให้โอกาสผู้เรียนได้ประสบความสำเร็จทุกคน
3. ผู้ชี้นำหรือแนะแนวทาง เพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าหาความรู้โดยการสังเกต การสำรวจ การทดลอง ซึ่งเป็นวิธีการให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
4. ผู้สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน เพื่อพร้อมที่จะเข้าใจ ช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน เพื่อให้ผู้ได้เรียนรู้ได้อย่างราบรื่น
5. ผู้เสริมแรง เพื่อให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่ครูต้องการ และเป็นการย้ำให้ผู้เรียนมั่นใจในการกระทำของตนเอง จะได้พัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น โดยเลือกโอกาสในการเสริมแรงให้เหมาะสม
6. ผู้ถามคำถาม เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนคิด และใช้คำถามเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสติปัญญาของผู้เรียน
7. ผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับ เมื่อผู้เรียนลงมือปฏิบัติย่อมต้องการทราบผลการกระทำของตน ดังนั้นเพื่อให้ผู้เรียนมีกำลังใจ ครูจะต้องมีวิธีการส่งเสริมการเรียนรู้ดังนั้น แนวคิดในการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เขียนเชื่อว่ามีความเหมาะสมในการนำมประกอบการออกแบบนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ คือการกำหนดบทบาทให้ครูมีฐานะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ทำหน้าที่วางแผนจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้คิด ลงมือปฏิบัติจริง แสวงหาความรู้และ

การสอนที่ดี....

การสอนที่ดี ควรสอนจากง่ายไปหายาก หรือจากสิ่งที่รู้แล้วไปหาสิ่งที่ยังไม่รู้
โดยเฉพาะประโยค ๑-๒ เป็นประโยคเริ่มแรกเรียน ควรสอนแปลอุภัยพากย์
หรือแปลท้องนิทานก่อน เมื่อเห็นว่าผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจพอสมควรแล้ว
จึงสอนแปลคาถา และอรรถกถา
แม้ประโยคยาสมาสซับซ้อน ก็ควรหาวิธีสอนโดยตัดเป็นประโยคสั้น ๆ ให้แปลง่าย ๆ ก่อนแล้วจึงรวมเป็นประโยค ดังนี้..
อตฺตนา วนปฺปติ รุกฺโข ปาลิโต.
เสฏฺฐินา ปุตฺโต อตฺตนา ปาลิตํ วนปฺปตึ นิสฺสาย ลทฺโธ.
เสฏฺฐินา อตฺตนา ปาลิตํ วนปฺปตึ นิสฺสาย ลทฺธตฺตา
ตสฺส ปาโลติ นามํ อกาสิ.
เช่นนี้ จะช่วยให้นักเรียนสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น

นางสาวกฤตยา มีแสวง เลขที่27
ชั้นปีที่ 1 สาขาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

supansa2010


เด็กใหม่เทคโนฯ
เด็กใหม่เทคโนฯ

ลักษณะการสอนที่ดี

หลักการสอนที่ดี คือ ผู้สอน วิธีการสอน และการเรียนรู้ บรรยากาศ สิ่งแวดล้อมต้องมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันผู้สอนจะต้องมีจรรยาบรรณแห่งความเป็นครูวิธีการสอนคือกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้สอนกับผู้เรียนจะต้องสอดคล้องเหมาะสมเพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีเพื่อให้การสอนบรรลุตามเป้าหมาย ผู้สอนต้องเตรียมการสอนมาอย่างดี ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทุกด้าน จัดการสอนอย่างมีกระบวนการ และให้ครบองค์ประกอบการสอน ได้แก่ การตั้งจุดประสงค์การสอน การกำหนดเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อการสอน และการวัดผลประเมินผลต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ตรงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรนอกจากนี้ผู้สอนควรได้คำนึงถึงหลักพื้นฐานในการสอนลักษณะการสอนที่ดีและปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดจนรู้จักใช้หลักการสอนให้สอดคล้องกับหลักการเรียนรู้หลักจิตวิทยาบรรยากาศเป็นประชาธิปไตย ก็จะช่วยให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
การสอนที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
1. มีการส่งเสริมนักเรียนให้เรียนด้วยการกระทำ การได้ลงมือทำจริง ให้ประสบการณ์ที่มีความหมาย
2. มีการส่งเสริมนักเรียนให้เรียนด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน การทำงานร่วมกับผู้อื่น
3. มีการตอบสนองความต้องการของนักเรียน เรียนด้วยความสุข ความสนใจ กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
4. มีการสอนให้สัมพันธ์ระหว่างวิชาที่เรียนกับวิชาอื่น ๆ ในหลักสูตรเป็นอย่างดี
5. มีการใช้สื่อการสอน จำพวกโสตทัศนวัสดุ เพื่อเร้าความสนใจ ช่วย ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น
6. มีกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเร้าความสนใจ ผู้เรียนสนุกสนาน ได้ลงมือปฏิบัติจริง และดูผลการปฏิบัติของตนเอง
7. มีการส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ ด้วยการซักถาม หรือให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาง่ายๆ เด็กคิดหาเหตุผลเปรียบเทียบ และพิจารณาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ
8. มีการส่งเสริมความคิดริเริ่ม และความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมการคิดทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ดีมีประโยชน์ไม่เลียนแบบใคร ส่งเสริมกิจกรรมสุนทรียภาพ ร้อยกรอง วาดภาพ และแสดงละคร
9. มีการใช้การจูงใจ ในระหว่างเรียน เช่น รางวัล การชมเชย คะแนนแข่งขัน เครื่องเชิดชูเกียรติ การลงโทษ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสนใจ ตั้งใจ ขยันหมั่นเพียรในการเรียนและทำกิจกรรม
10. มีการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแบบประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น มีการรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ยกย่องความคิดเห็นที่ดี นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนร่วมกับครู
11. มีการเร้าความสนใจก่อนลงมือทำการสอนเสมอ
12. มีการประเมินผลตลอกเวลา โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสังเกต การซักถาม การทดสอบ เพื่อให้แน่ใจว่าการสอนของครูตรงตามจุดประสงค์มากที่สุด
นอกจากนี้ ยังมีนักศึกษาให้นิยามลักษณะการสอนที่ดีไว้อีกหลายท่าน ดังนี้อมรวิชช์ นาครทรรพ (2539) และ พนม พงษ์ไพบูลย์ (2543) สนับสนุนประเด็นที่ว่าครูควรมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน โดยแสดงความคิดเห็นซึ่งสรุปได้ว่า ในโลกยุคใหม่ การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นได้กับทุกคน ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนของครูจึงควรสอดคล้องกับแนวการปฏิรูปการศึกษา โดยผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้อำนวยความสะดวก และลักษณะการสอนจะต้องมีความหลากหลาย สอนให้นักเรียนรู้จักคิด คิดเป็น ทำเป็น มีวิจารณญาณของตนเอง โดยครูจะต้องคอยให้คำชี้แนะบทบาทของครูในอนาคตคือ การสอนวิธีหาความรู้ในโลกแห่งความรู้อันมากมายที่ไม่อาจสอนได้หมดนอกจากนั้น Ward (1994) ซึ่งให้ความสำคัญต่อการสอนวิธีเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน (learning to learn) ได้กล่าวว่า ครูจะต้องเป็นผู้อำนวยการความสะดวกในการเรียนรู้ (learning facilitator) มีความรู้ความเข้าใจในระบบพื้นฐาน
ทางกายภาพที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ใช้วิธีการสอนที่หลากหลายซึ่งมีความเหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคล รู้จักจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้มีลักษณะจูงใจ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้


นางสาวสุพรรษา ฝากประโคน เลขที่50
ชั้นปีที่ 1 สาขาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

carery


เด็กใหม่เทคโนฯ
เด็กใหม่เทคโนฯ

ลักษณะการสอนที่ดี

การสอนที่ดีต้องมีองค์ประกอบร่วมกันหลายประการ ที่เหมาะสมสอดคล้อง
กัน แยกลักษณะ ได้ดังนี้
1) ครูผู้สอน
1.มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพครู
- อุทิศเวลาและเสียสละให้กับงานสอนด้วยความรับผิดชอบ
- สอนอย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
- ช่วยเหลือและปฏิบัติต่อศิษย์อย่างเป็นธรรม
- เป็นตัวอย่างที่ดีของศิษย์
- หมั่นศึกษาค้นคว้าติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการของตนให้ทันต่อเหตุการณ์
เสมอ
2.มีทัศนคติที่ดีต่อการเป็นครู และ ตั้งใจสอน
3.ลักษณะอาจารย์ ควรมีลักษณะท่าทางที่จริงใจ มีเมตตา สนใจต่อผู้เรียนให้ความ
เป็นกันเอง
4.ไม่ควรยึดมั่นในวิธีสอนวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงวิธีเดียว ควรเสาะหาวิธีที่เหมาะสมกับการสอน
แต่ละเนื้อหา
5.ถ่ายทอดความรู้ได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย




นางสาวแคร์พรรณ สนองทิพากร
ชั้นปีที่1 เลขที่ 38
สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

auto


เด็กใหม่เทคโนฯ
เด็กใหม่เทคโนฯ

สอน Systems, College of Education, University Penn State
สอน System Design (ISD): การ ใช้ ADDIE Model
การ ออกแบบ การ สอน เป็น วิธี ระบบ ที่
การ วิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนา ดำเนิน การ และ การ ประเมิน ผล การ เรียน รู้ สื่อ และ กิจกรรม.
การ ออกแบบ การ สอน มี วัตถุประสงค์ เพื่อ ผู้ เรียน เป็น ศูนย์กลาง มากกว่า ครู โบราณ ศูนย์กลาง วิธี การ
การ สอน เพื่อ การ เรียน รู้ ที่ มี ประสิทธิภาพ สามารถ เกิด ขึ้น. หมายความ ว่า องค์ประกอบ ของ การ เรียน การ สอน ทุก
จะ เป็น ไป ตาม ผล การ เรียน ซึ่ง ได้ รับ การ พิจารณา หลังจาก วิเคราะห์ ถี่ถ้วน ของ
ความ ต้องการ ของ ผู้ เรียน '.
ระยะ นี้ บาง ครั้ง ซ้อน กัน และ สามารถ กัน แต่ พวก เขา ให้ แบบ ไดนามิก ยืดหยุ่น
แนวทาง การ สอน ที่ มี ประสิทธิภาพ และ มี ประสิทธิภาพ.
ตัวอย่าง งาน ตัวอย่าง Output วิเคราะห์ การ กำหนด สิ่ง ที่ จะ ได้ เรียน รู้ การ ประเมิน ความ ต้องการ? ตัว ปัญหา? วิเคราะห์ • Task โปรไฟล์ • เรียน ? คำ อธิบาย ของ ข้อ จำกัด
ต้องการ • ปัญหา งบ วิเคราะห์ • Task ออกแบบ การ ระบุ ว่า มัน คือ เรียน รู้ วัตถุประสงค์? เขียน
? พัฒนา รายการ ทดสอบ สอน • Plan ทรัพยากร • ระบุ วัตถุประสงค์ วัด? กลยุทธ์ การ สอน
ข้อกำหนด ต้นแบบ? การ พัฒนา การ เขียน และ ผลิต วัสดุ ทำงาน กับ ผู้ ผลิต พัฒนา สมุด ผัง,
โปรแกรม Storyboard? สคริปต์? แบบฝึกหัด? คอมพิวเตอร์ ช่วย สอน การ ปฏิบัติ การ ติด ตั้ง โครงการ ใน บริบท โลก จริง อบรม ครู? การ ทดสอบ? ความ คิดเห็น • นักศึกษา ข้อมูล
การ ประเมิน ผล การ กำหนด ความ เพียงพอ ของ การ สอน ข้อมูล เวลา • Record ตีความ ผล การ ทดสอบ บัณฑิต • สำรวจ กิจกรรม • แก้ไข คำ แนะนำ? รายงาน • โครงการ ต้นแบบ ปรับ?
San Jose State University, สอน Technology Program
วิเคราะห์ ออกแบบ การ พัฒนา การ ประเมิน ผล การ ดำเนิน Summative การ ประเมิน ผล การ ก่อสร้าง ADDIE Model เป็น ที่ กล่าว ย้ำ การ ออกแบบ การ สอน กระบวนการ ที่ ผล ของ
การ ประเมิน ผล การ ก่อสร้าง ของ แต่ละ ขั้น ตอน อาจ นำ สอน ออกแบบ กลับ ไป ที่ ใด ระยะก่อน. ผลิตภัณฑ์ ที่ สิ้นสุด ของ ระยะ หนึ่ง คือ เริ่ม ต้น ผลิตภัณฑ์ ของ ระยะ ต่อ ไป.
Steven J. McGriff 09/2000
สอน Systems, College of Education, University Penn State
สอน System Design (ISD): การ ใช้ ADDIE Model
วิเคราะห์
ขั้น ตอน การ วิเคราะห์ เป็น รากฐาน สำหรับ ขั้น ตอน อื่น ๆ ของ การ ออกแบบ การ สอน. ระหว่าง ขั้น ตอน นี้ คุณ
ต้อง กำหนด ปัญหา ได้ ระบุ แหล่ง ที่ มา ของ ปัญหา และ กำหนด โซลูชั่น ไป.
ระยะ อาจ รวม ถึง เทคนิค การ วิจัย เฉพาะ เช่น การ วิเคราะห์ ความ ต้องการ การ วิเคราะห์ งาน และ วิเคราะห์ งาน.
ผล ของ ระยะ นี้ มัก จะ รวม เป้าหมาย การ สอน และ รายการ ของ งาน ที่ จะ คำ สั่ง. เหล่า นี้
ผล จะ inputs สำหรับ ระยะ Design.
ออกแบบ
ขั้น ตอน การ ออกแบบ เกี่ยวข้อง กับ การ ใช้ ผล จาก ขั้น ตอน การ วิเคราะห์ เพื่อ วางแผน กลยุทธ์ สำหรับ การ พัฒนา
สอน. ระหว่าง ขั้น ตอน นี้ คุณ ต้อง โครง วิธี การ บรรลุ เป้าหมาย การ สอน ใน ระหว่าง การ พิจารณา
ขั้น ตอน การ วิเคราะห์ และ ขยาย มูลนิธิ สอน.
บาง องค์ประกอบ ของ ระยะ การ ออกแบบ อาจ รวม ถึง การ เขียน คำ อธิบาย ประชากร เป้าหมาย การ ดำเนิน
การ วิเคราะห์ การ เรียน รู้ การ เขียน วัตถุประสงค์ และ รายการ ทดสอบ การ เลือก ระบบ การ จัด ส่ง และ sequencing
สอน. ผล ของ ขั้น ตอน การ ออกแบบ จะ inputs สำหรับ พัฒนา เฟส.
การ พัฒนา
พัฒนา ขั้น ตอน การ สร้าง ทั้ง วิเคราะห์ และ ระยะ Design. วัตถุประสงค์ ของ ระยะ นี้ คือ
สร้าง แผนการ เรียน และ สื่อ การ เรียน. ระหว่าง ขั้น ตอน ที่ คุณ จะ พัฒนา สอน ทั้งหมด นี้
สื่อ ที่ จะ ใช้ ใน การ สอน และ เอกสาร ใด ๆ ที่ สนับสนุน. นี้ อาจ รวม ถึง ฮาร์ดแวร์
(เช่น เครื่อง จำลอง) และ ซอฟต์แวร์ (เช่น เครื่อง คอมพิวเตอร์ ที่ ใช้ สอน).
การ ปฏิบัติ
ขั้น ตอน การ ดำเนิน การ หมาย ถึง การ แสดง จริง ของ คำ สั่ง นั้น ไม่ ว่า จะ เป็น ห้องเรียน-based,
ห้อง ปฏิบัติการ ที่ ใช้ หรือ คอมพิวเตอร์-based. วัตถุประสงค์ ของ ขั้น ตอน นี้ คือ มี ประสิทธิภาพ และ มี ประสิทธิภาพ การ จัด ส่ง ของ
สอน. ระยะ นี้ จะ ต้อง ส่งเสริม ความ เข้าใจ นักเรียน 'ของ วัสดุ สนับสนุน นักเรียน'
การ บังคับบัญชา วัตถุประสงค์ และ ให้ โอน นักเรียน 'ความ รู้ จาก การ สอน ไป
งาน.
การ ประเมิน ผล
ระยะ นี้ วัด ประสิทธิผล และ ประสิทธิภาพ ของ การ สอน. การ ประเมิน ผล จริง จะ เกิด ขึ้น
ตลอด กระบวนการ ออกแบบ การ สอน ทั้งหมด - ภายใน ระยะ ระหว่าง ระยะ และ หลังจาก
การนำ. การ ประเมิน ผล อาจ จะ ก่อสร้าง หรือ Summative.
ก่อสร้าง การ ประเมิน ผล จะ ต่อ เนื่อง ใน และ ระหว่าง ระยะ. วัตถุประสงค์ ของ ประเภท การ ประเมิน นี้ คือ
เพื่อ ปรับปรุง การ สอน ก่อน ที่ รุ่น สุดท้าย คือ ดำเนิน.
Summative ประเมิน ผล มัก จะ เกิด ขึ้น หลังจาก รุ่น สุดท้าย ของ การ สอน จะ ดำเนิน. ประเภท นี้
การ ประเมิน ผล การ ประเมิน ประสิทธิภาพ โดย รวม ของ คำ สั่ง. ข้อมูล จาก การ ประเมิน ผล เป็น Summative
มัก จะ ใช้ เพื่อ ตัดสินใจ เกี่ยว กับ การ สอน (เช่น ว่า จะ ซื้อ ชุด การ สอน
หรือ ต่อ / ยกเลิก การ สอน).
นี้ สรุป ADDIE Model อธิบาย ได้ โดย สาม นักศึกษา ปริญญา โท (Sherri Braxton,
Kimberly Bronico, Thelma Looms) ใน วิชา วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ที่ George Washington
มหาวิทยาลัย ใน วอชิงตัน ดี ซี Available ณ 9/23/00 ที่:
http://www.seas.gwu.edu/ sbraxton ~ / ISD / general_phases.html


นางสาวกุสุมา ชุมพลวงค์ ชั้นปีที่1 เลขที่28 สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

tweety-ice

tweety-ice
มือสมัครเล่น
มือสมัครเล่น

สอน Systems, College of Education, University Penn State
สอน System Design (ISD): การ ใช้ ADDIE Model
การ ออกแบบ การ สอน เป็น วิธี ระบบ ที่
การ วิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนา ดำเนิน การ และ การ ประเมิน ผล การ เรียน รู้ สื่อ และ กิจกรรม.
การ ออกแบบ การ สอน มี วัตถุประสงค์ เพื่อ ผู้ เรียน เป็น ศูนย์กลาง มากกว่า ครู โบราณ ศูนย์กลาง วิธี การ
การ สอน เพื่อ การ เรียน รู้ ที่ มี ประสิทธิภาพ สามารถ เกิด ขึ้น. หมายความ ว่า องค์ประกอบ ของ การ เรียน การ สอน ทุก
จะ เป็น ไป ตาม ผล การ เรียน ซึ่ง ได้ รับ การ พิจารณา หลังจาก วิเคราะห์ ถี่ถ้วน ของ
ความ ต้องการ ของ ผู้ เรียน '.
ระยะ นี้ บาง ครั้ง ซ้อน กัน และ สามารถ กัน แต่ พวก เขา ให้ แบบ ไดนามิก ยืดหยุ่น
แนวทาง การ สอน ที่ มี ประสิทธิภาพ และ มี ประสิทธิภาพ.
ตัวอย่าง งาน ตัวอย่าง Output วิเคราะห์ การ กำหนด สิ่ง ที่ จะ ได้ เรียน รู้ การ ประเมิน ความ ต้องการ? ตัว ปัญหา? วิเคราะห์ • Task โปรไฟล์ • เรียน ? คำ อธิบาย ของ ข้อ จำกัด
ต้องการ • ปัญหา งบ วิเคราะห์ • Task ออกแบบ การ ระบุ ว่า มัน คือ เรียน รู้ วัตถุประสงค์? เขียน
? พัฒนา รายการ ทดสอบ สอน • Plan ทรัพยากร • ระบุ วัตถุประสงค์ วัด? กลยุทธ์ การ สอน
ข้อกำหนด ต้นแบบ? การ พัฒนา การ เขียน และ ผลิต วัสดุ ทำงาน กับ ผู้ ผลิต พัฒนา สมุด ผัง,
โปรแกรม Storyboard? สคริปต์? แบบฝึกหัด? คอมพิวเตอร์ ช่วย สอน การ ปฏิบัติ การ ติด ตั้ง โครงการ ใน บริบท โลก จริง อบรม ครู? การ ทดสอบ? ความ คิดเห็น • นักศึกษา ข้อมูล
การ ประเมิน ผล การ กำหนด ความ เพียงพอ ของ การ สอน ข้อมูล เวลา • Record ตีความ ผล การ ทดสอบ บัณฑิต • สำรวจ กิจกรรม • แก้ไข คำ แนะนำ? รายงาน • โครงการ ต้นแบบ ปรับ?
San Jose State University, สอน Technology Program
วิเคราะห์ ออกแบบ การ พัฒนา การ ประเมิน ผล การ ดำเนิน Summative การ ประเมิน ผล การ ก่อสร้าง ADDIE Model เป็น ที่ กล่าว ย้ำ การ ออกแบบ การ สอน กระบวนการ ที่ ผล ของ
การ ประเมิน ผล การ ก่อสร้าง ของ แต่ละ ขั้น ตอน อาจ นำ สอน ออกแบบ กลับ ไป ที่ ใด ระยะก่อน. ผลิตภัณฑ์ ที่ สิ้นสุด ของ ระยะ หนึ่ง คือ เริ่ม ต้น ผลิตภัณฑ์ ของ ระยะ ต่อ ไป.
Steven J. McGriff 09/2000
สอน Systems, College of Education, University Penn State
สอน System Design (ISD): การ ใช้ ADDIE Model
วิเคราะห์
ขั้น ตอน การ วิเคราะห์ เป็น รากฐาน สำหรับ ขั้น ตอน อื่น ๆ ของ การ ออกแบบ การ สอน. ระหว่าง ขั้น ตอน นี้ คุณ
ต้อง กำหนด ปัญหา ได้ ระบุ แหล่ง ที่ มา ของ ปัญหา และ กำหนด โซลูชั่น ไป.
ระยะ อาจ รวม ถึง เทคนิค การ วิจัย เฉพาะ เช่น การ วิเคราะห์ ความ ต้องการ การ วิเคราะห์ งาน และ วิเคราะห์ งาน.
ผล ของ ระยะ นี้ มัก จะ รวม เป้าหมาย การ สอน และ รายการ ของ งาน ที่ จะ คำ สั่ง. เหล่า นี้
ผล จะ inputs สำหรับ ระยะ Design.
ออกแบบ
ขั้น ตอน การ ออกแบบ เกี่ยวข้อง กับ การ ใช้ ผล จาก ขั้น ตอน การ วิเคราะห์ เพื่อ วางแผน กลยุทธ์ สำหรับ การ พัฒนา
สอน. ระหว่าง ขั้น ตอน นี้ คุณ ต้อง โครง วิธี การ บรรลุ เป้าหมาย การ สอน ใน ระหว่าง การ พิจารณา
ขั้น ตอน การ วิเคราะห์ และ ขยาย มูลนิธิ สอน.
บาง องค์ประกอบ ของ ระยะ การ ออกแบบ อาจ รวม ถึง การ เขียน คำ อธิบาย ประชากร เป้าหมาย การ ดำเนิน
การ วิเคราะห์ การ เรียน รู้ การ เขียน วัตถุประสงค์ และ รายการ ทดสอบ การ เลือก ระบบ การ จัด ส่ง และ sequencing
สอน. ผล ของ ขั้น ตอน การ ออกแบบ จะ inputs สำหรับ พัฒนา เฟส.
การ พัฒนา
พัฒนา ขั้น ตอน การ สร้าง ทั้ง วิเคราะห์ และ ระยะ Design. วัตถุประสงค์ ของ ระยะ นี้ คือ
สร้าง แผนการ เรียน และ สื่อ การ เรียน. ระหว่าง ขั้น ตอน ที่ คุณ จะ พัฒนา สอน ทั้งหมด นี้
สื่อ ที่ จะ ใช้ ใน การ สอน และ เอกสาร ใด ๆ ที่ สนับสนุน. นี้ อาจ รวม ถึง ฮาร์ดแวร์
(เช่น เครื่อง จำลอง) และ ซอฟต์แวร์ (เช่น เครื่อง คอมพิวเตอร์ ที่ ใช้ สอน).
การ ปฏิบัติ
ขั้น ตอน การ ดำเนิน การ หมาย ถึง การ แสดง จริง ของ คำ สั่ง นั้น ไม่ ว่า จะ เป็น ห้องเรียน-based,
ห้อง ปฏิบัติการ ที่ ใช้ หรือ คอมพิวเตอร์-based. วัตถุประสงค์ ของ ขั้น ตอน นี้ คือ มี ประสิทธิภาพ และ มี ประสิทธิภาพ การ จัด ส่ง ของ
สอน. ระยะ นี้ จะ ต้อง ส่งเสริม ความ เข้าใจ นักเรียน 'ของ วัสดุ สนับสนุน นักเรียน'
การ บังคับบัญชา วัตถุประสงค์ และ ให้ โอน นักเรียน 'ความ รู้ จาก การ สอน ไป
งาน.
การ ประเมิน ผล
ระยะ นี้ วัด ประสิทธิผล และ ประสิทธิภาพ ของ การ สอน. การ ประเมิน ผล จริง จะ เกิด ขึ้น
ตลอด กระบวนการ ออกแบบ การ สอน ทั้งหมด - ภายใน ระยะ ระหว่าง ระยะ และ หลังจาก
การนำ. การ ประเมิน ผล อาจ จะ ก่อสร้าง หรือ Summative.
ก่อสร้าง การ ประเมิน ผล จะ ต่อ เนื่อง ใน และ ระหว่าง ระยะ. วัตถุประสงค์ ของ ประเภท การ ประเมิน นี้ คือ
เพื่อ ปรับปรุง การ สอน ก่อน ที่ รุ่น สุดท้าย คือ ดำเนิน.
Summative ประเมิน ผล มัก จะ เกิด ขึ้น หลังจาก รุ่น สุดท้าย ของ การ สอน จะ ดำเนิน. ประเภท นี้
การ ประเมิน ผล การ ประเมิน ประสิทธิภาพ โดย รวม ของ คำ สั่ง. ข้อมูล จาก การ ประเมิน ผล เป็น Summative
มัก จะ ใช้ เพื่อ ตัดสินใจ เกี่ยว กับ การ สอน (เช่น ว่า จะ ซื้อ ชุด การ สอน
หรือ ต่อ / ยกเลิก การ สอน).
นี้ สรุป ADDIE Model อธิบาย ได้ โดย สาม นักศึกษา ปริญญา โท (Sherri Braxton,
Kimberly Bronico, Thelma Looms) ใน วิชา วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ที่ George Washington
มหาวิทยาลัย ใน วอชิงตัน ดี ซี Available ณ 9/23/00 ที่:
http://www.seas.gwu.edu/ sbraxton ~ / ISD / general_phases.html







]color=yellow]นางสาวกตัญชลี พงศ์ทองมี
ชั้นปีที่1 เลขที่ 24
สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์[/color]

tweety-ice

tweety-ice
มือสมัครเล่น
มือสมัครเล่น

สอน Systems, College of Education, University Penn State
สอน System Design (ISD): การ ใช้ ADDIE Model
การ ออกแบบ การ สอน เป็น วิธี ระบบ ที่
การ วิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนา ดำเนิน การ และ การ ประเมิน ผล การ เรียน รู้ สื่อ และ กิจกรรม.
การ ออกแบบ การ สอน มี วัตถุประสงค์ เพื่อ ผู้ เรียน เป็น ศูนย์กลาง มากกว่า ครู โบราณ ศูนย์กลาง วิธี การ
การ สอน เพื่อ การ เรียน รู้ ที่ มี ประสิทธิภาพ สามารถ เกิด ขึ้น. หมายความ ว่า องค์ประกอบ ของ การ เรียน การ สอน ทุก
จะ เป็น ไป ตาม ผล การ เรียน ซึ่ง ได้ รับ การ พิจารณา หลังจาก วิเคราะห์ ถี่ถ้วน ของ
ความ ต้องการ ของ ผู้ เรียน '.
ระยะ นี้ บาง ครั้ง ซ้อน กัน และ สามารถ กัน แต่ พวก เขา ให้ แบบ ไดนามิก ยืดหยุ่น
แนวทาง การ สอน ที่ มี ประสิทธิภาพ และ มี ประสิทธิภาพ.
ตัวอย่าง งาน ตัวอย่าง Output วิเคราะห์ การ กำหนด สิ่ง ที่ จะ ได้ เรียน รู้ การ ประเมิน ความ ต้องการ? ตัว ปัญหา? วิเคราะห์ • Task โปรไฟล์ • เรียน ? คำ อธิบาย ของ ข้อ จำกัด
ต้องการ • ปัญหา งบ วิเคราะห์ • Task ออกแบบ การ ระบุ ว่า มัน คือ เรียน รู้ วัตถุประสงค์? เขียน
? พัฒนา รายการ ทดสอบ สอน • Plan ทรัพยากร • ระบุ วัตถุประสงค์ วัด? กลยุทธ์ การ สอน
ข้อกำหนด ต้นแบบ? การ พัฒนา การ เขียน และ ผลิต วัสดุ ทำงาน กับ ผู้ ผลิต พัฒนา สมุด ผัง,
โปรแกรม Storyboard? สคริปต์? แบบฝึกหัด? คอมพิวเตอร์ ช่วย สอน การ ปฏิบัติ การ ติด ตั้ง โครงการ ใน บริบท โลก จริง อบรม ครู? การ ทดสอบ? ความ คิดเห็น • นักศึกษา ข้อมูล
การ ประเมิน ผล การ กำหนด ความ เพียงพอ ของ การ สอน ข้อมูล เวลา • Record ตีความ ผล การ ทดสอบ บัณฑิต • สำรวจ กิจกรรม • แก้ไข คำ แนะนำ? รายงาน • โครงการ ต้นแบบ ปรับ?
San Jose State University, สอน Technology Program
วิเคราะห์ ออกแบบ การ พัฒนา การ ประเมิน ผล การ ดำเนิน Summative การ ประเมิน ผล การ ก่อสร้าง ADDIE Model เป็น ที่ กล่าว ย้ำ การ ออกแบบ การ สอน กระบวนการ ที่ ผล ของ
การ ประเมิน ผล การ ก่อสร้าง ของ แต่ละ ขั้น ตอน อาจ นำ สอน ออกแบบ กลับ ไป ที่ ใด ระยะก่อน. ผลิตภัณฑ์ ที่ สิ้นสุด ของ ระยะ หนึ่ง คือ เริ่ม ต้น ผลิตภัณฑ์ ของ ระยะ ต่อ ไป.
Steven J. McGriff 09/2000
สอน Systems, College of Education, University Penn State
สอน System Design (ISD): การ ใช้ ADDIE Model
วิเคราะห์
ขั้น ตอน การ วิเคราะห์ เป็น รากฐาน สำหรับ ขั้น ตอน อื่น ๆ ของ การ ออกแบบ การ สอน. ระหว่าง ขั้น ตอน นี้ คุณ
ต้อง กำหนด ปัญหา ได้ ระบุ แหล่ง ที่ มา ของ ปัญหา และ กำหนด โซลูชั่น ไป.
ระยะ อาจ รวม ถึง เทคนิค การ วิจัย เฉพาะ เช่น การ วิเคราะห์ ความ ต้องการ การ วิเคราะห์ งาน และ วิเคราะห์ งาน.
ผล ของ ระยะ นี้ มัก จะ รวม เป้าหมาย การ สอน และ รายการ ของ งาน ที่ จะ คำ สั่ง. เหล่า นี้
ผล จะ inputs สำหรับ ระยะ Design.
ออกแบบ
ขั้น ตอน การ ออกแบบ เกี่ยวข้อง กับ การ ใช้ ผล จาก ขั้น ตอน การ วิเคราะห์ เพื่อ วางแผน กลยุทธ์ สำหรับ การ พัฒนา
สอน. ระหว่าง ขั้น ตอน นี้ คุณ ต้อง โครง วิธี การ บรรลุ เป้าหมาย การ สอน ใน ระหว่าง การ พิจารณา
ขั้น ตอน การ วิเคราะห์ และ ขยาย มูลนิธิ สอน.
บาง องค์ประกอบ ของ ระยะ การ ออกแบบ อาจ รวม ถึง การ เขียน คำ อธิบาย ประชากร เป้าหมาย การ ดำเนิน
การ วิเคราะห์ การ เรียน รู้ การ เขียน วัตถุประสงค์ และ รายการ ทดสอบ การ เลือก ระบบ การ จัด ส่ง และ sequencing
สอน. ผล ของ ขั้น ตอน การ ออกแบบ จะ inputs สำหรับ พัฒนา เฟส.
การ พัฒนา
พัฒนา ขั้น ตอน การ สร้าง ทั้ง วิเคราะห์ และ ระยะ Design. วัตถุประสงค์ ของ ระยะ นี้ คือ
สร้าง แผนการ เรียน และ สื่อ การ เรียน. ระหว่าง ขั้น ตอน ที่ คุณ จะ พัฒนา สอน ทั้งหมด นี้
สื่อ ที่ จะ ใช้ ใน การ สอน และ เอกสาร ใด ๆ ที่ สนับสนุน. นี้ อาจ รวม ถึง ฮาร์ดแวร์
(เช่น เครื่อง จำลอง) และ ซอฟต์แวร์ (เช่น เครื่อง คอมพิวเตอร์ ที่ ใช้ สอน).
การ ปฏิบัติ
ขั้น ตอน การ ดำเนิน การ หมาย ถึง การ แสดง จริง ของ คำ สั่ง นั้น ไม่ ว่า จะ เป็น ห้องเรียน-based,
ห้อง ปฏิบัติการ ที่ ใช้ หรือ คอมพิวเตอร์-based. วัตถุประสงค์ ของ ขั้น ตอน นี้ คือ มี ประสิทธิภาพ และ มี ประสิทธิภาพ การ จัด ส่ง ของ
สอน. ระยะ นี้ จะ ต้อง ส่งเสริม ความ เข้าใจ นักเรียน 'ของ วัสดุ สนับสนุน นักเรียน'
การ บังคับบัญชา วัตถุประสงค์ และ ให้ โอน นักเรียน 'ความ รู้ จาก การ สอน ไป
งาน.
การ ประเมิน ผล
ระยะ นี้ วัด ประสิทธิผล และ ประสิทธิภาพ ของ การ สอน. การ ประเมิน ผล จริง จะ เกิด ขึ้น
ตลอด กระบวนการ ออกแบบ การ สอน ทั้งหมด - ภายใน ระยะ ระหว่าง ระยะ และ หลังจาก
การนำ. การ ประเมิน ผล อาจ จะ ก่อสร้าง หรือ Summative.
ก่อสร้าง การ ประเมิน ผล จะ ต่อ เนื่อง ใน และ ระหว่าง ระยะ. วัตถุประสงค์ ของ ประเภท การ ประเมิน นี้ คือ
เพื่อ ปรับปรุง การ สอน ก่อน ที่ รุ่น สุดท้าย คือ ดำเนิน.
Summative ประเมิน ผล มัก จะ เกิด ขึ้น หลังจาก รุ่น สุดท้าย ของ การ สอน จะ ดำเนิน. ประเภท นี้
การ ประเมิน ผล การ ประเมิน ประสิทธิภาพ โดย รวม ของ คำ สั่ง. ข้อมูล จาก การ ประเมิน ผล เป็น Summative
มัก จะ ใช้ เพื่อ ตัดสินใจ เกี่ยว กับ การ สอน (เช่น ว่า จะ ซื้อ ชุด การ สอน
หรือ ต่อ / ยกเลิก การ สอน).
นี้ สรุป ADDIE Model อธิบาย ได้ โดย สาม นักศึกษา ปริญญา โท (Sherri Braxton,
Kimberly Bronico, Thelma Looms) ใน วิชา วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ที่ George Washington
มหาวิทยาลัย ใน วอชิงตัน ดี ซี Available ณ 9/23/00 ที่:
http://www.seas.gwu.edu/ sbraxton ~ / ISD / general_phases.html






[color=yellow]สอน Systems, College of Education, University Penn State
สอน System Design (ISD): การ ใช้ ADDIE Model
การ ออกแบบ การ สอน เป็น วิธี ระบบ ที่
การ วิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนา ดำเนิน การ และ การ ประเมิน ผล การ เรียน รู้ สื่อ และ กิจกรรม.
การ ออกแบบ การ สอน มี วัตถุประสงค์ เพื่อ ผู้ เรียน เป็น ศูนย์กลาง มากกว่า ครู โบราณ ศูนย์กลาง วิธี การ
การ สอน เพื่อ การ เรียน รู้ ที่ มี ประสิทธิภาพ สามารถ เกิด ขึ้น. หมายความ ว่า องค์ประกอบ ของ การ เรียน การ สอน ทุก
จะ เป็น ไป ตาม ผล การ เรียน ซึ่ง ได้ รับ การ พิจารณา หลังจาก วิเคราะห์ ถี่ถ้วน ของ
ความ ต้องการ ของ ผู้ เรียน '.
ระยะ นี้ บาง ครั้ง ซ้อน กัน และ สามารถ กัน แต่ พวก เขา ให้ แบบ ไดนามิก ยืดหยุ่น
แนวทาง การ สอน ที่ มี ประสิทธิภาพ และ มี ประสิทธิภาพ.
ตัวอย่าง งาน ตัวอย่าง Output วิเคราะห์ การ กำหนด สิ่ง ที่ จะ ได้ เรียน รู้ การ ประเมิน ความ ต้องการ? ตัว ปัญหา? วิเคราะห์ • Task โปรไฟล์ • เรียน ? คำ อธิบาย ของ ข้อ จำกัด
ต้องการ • ปัญหา งบ วิเคราะห์ • Task ออกแบบ การ ระบุ ว่า มัน คือ เรียน รู้ วัตถุประสงค์? เขียน
? พัฒนา รายการ ทดสอบ สอน • Plan ทรัพยากร • ระบุ วัตถุประสงค์ วัด? กลยุทธ์ การ สอน
ข้อกำหนด ต้นแบบ? การ พัฒนา การ เขียน และ ผลิต วัสดุ ทำงาน กับ ผู้ ผลิต พัฒนา สมุด ผัง,
โปรแกรม Storyboard? สคริปต์? แบบฝึกหัด? คอมพิวเตอร์ ช่วย สอน การ ปฏิบัติ การ ติด ตั้ง โครงการ ใน บริบท โลก จริง อบรม ครู? การ ทดสอบ? ความ คิดเห็น • นักศึกษา ข้อมูล
การ ประเมิน ผล การ กำหนด ความ เพียงพอ ของ การ สอน ข้อมูล เวลา • Record ตีความ ผล การ ทดสอบ บัณฑิต • สำรวจ กิจกรรม • แก้ไข คำ แนะนำ? รายงาน • โครงการ ต้นแบบ ปรับ?
San Jose State University, สอน Technology Program
วิเคราะห์ ออกแบบ การ พัฒนา การ ประเมิน ผล การ ดำเนิน Summative การ ประเมิน ผล การ ก่อสร้าง ADDIE Model เป็น ที่ กล่าว ย้ำ การ ออกแบบ การ สอน กระบวนการ ที่ ผล ของ
การ ประเมิน ผล การ ก่อสร้าง ของ แต่ละ ขั้น ตอน อาจ นำ สอน ออกแบบ กลับ ไป ที่ ใด ระยะก่อน. ผลิตภัณฑ์ ที่ สิ้นสุด ของ ระยะ หนึ่ง คือ เริ่ม ต้น ผลิตภัณฑ์ ของ ระยะ ต่อ ไป.
Steven J. McGriff 09/2000
สอน Systems, College of Education, University Penn State
สอน System Design (ISD): การ ใช้ ADDIE Model
วิเคราะห์
ขั้น ตอน การ วิเคราะห์ เป็น รากฐาน สำหรับ ขั้น ตอน อื่น ๆ ของ การ ออกแบบ การ สอน. ระหว่าง ขั้น ตอน นี้ คุณ
ต้อง กำหนด ปัญหา ได้ ระบุ แหล่ง ที่ มา ของ ปัญหา และ กำหนด โซลูชั่น ไป.
ระยะ อาจ รวม ถึง เทคนิค การ วิจัย เฉพาะ เช่น การ วิเคราะห์ ความ ต้องการ การ วิเคราะห์ งาน และ วิเคราะห์ งาน.
ผล ของ ระยะ นี้ มัก จะ รวม เป้าหมาย การ สอน และ รายการ ของ งาน ที่ จะ คำ สั่ง. เหล่า นี้
ผล จะ inputs สำหรับ ระยะ Design.
ออกแบบ
ขั้น ตอน การ ออกแบบ เกี่ยวข้อง กับ การ ใช้ ผล จาก ขั้น ตอน การ วิเคราะห์ เพื่อ วางแผน กลยุทธ์ สำหรับ การ พัฒนา
สอน. ระหว่าง ขั้น ตอน นี้ คุณ ต้อง โครง วิธี การ บรรลุ เป้าหมาย การ สอน ใน ระหว่าง การ พิจารณา
ขั้น ตอน การ วิเคราะห์ และ ขยาย มูลนิธิ สอน.
บาง องค์ประกอบ ของ ระยะ การ ออกแบบ อาจ รวม ถึง การ เขียน คำ อธิบาย ประชากร เป้าหมาย การ ดำเนิน
การ วิเคราะห์ การ เรียน รู้ การ เขียน วัตถุประสงค์ และ รายการ ทดสอบ การ เลือก ระบบ การ จัด ส่ง และ sequencing
สอน. ผล ของ ขั้น ตอน การ ออกแบบ จะ inputs สำหรับ พัฒนา เฟส.
การ พัฒนา
พัฒนา ขั้น ตอน การ สร้าง ทั้ง วิเคราะห์ และ ระยะ Design. วัตถุประสงค์ ของ ระยะ นี้ คือ
สร้าง แผนการ เรียน และ สื่อ การ เรียน. ระหว่าง ขั้น ตอน ที่ คุณ จะ พัฒนา สอน ทั้งหมด นี้
สื่อ ที่ จะ ใช้ ใน การ สอน และ เอกสาร ใด ๆ ที่ สนับสนุน. นี้ อาจ รวม ถึง ฮาร์ดแวร์
(เช่น เครื่อง จำลอง) และ ซอฟต์แวร์ (เช่น เครื่อง คอมพิวเตอร์ ที่ ใช้ สอน).
การ ปฏิบัติ
ขั้น ตอน การ ดำเนิน การ หมาย ถึง การ แสดง จริง ของ คำ สั่ง นั้น ไม่ ว่า จะ เป็น ห้องเรียน-based,
ห้อง ปฏิบัติการ ที่ ใช้ หรือ คอมพิวเตอร์-based. วัตถุประสงค์ ของ ขั้น ตอน นี้ คือ มี ประสิทธิภาพ และ มี ประสิทธิภาพ การ จัด ส่ง ของ
สอน. ระยะ นี้ จะ ต้อง ส่งเสริม ความ เข้าใจ นักเรียน 'ของ วัสดุ สนับสนุน นักเรียน'
การ บังคับบัญชา วัตถุประสงค์ และ ให้ โอน นักเรียน 'ความ รู้ จาก การ สอน ไป
งาน.
การ ประเมิน ผล
ระยะ นี้ วัด ประสิทธิผล และ ประสิทธิภาพ ของ การ สอน. การ ประเมิน ผล จริง จะ เกิด ขึ้น
ตลอด กระบวนการ ออกแบบ การ สอน ทั้งหมด - ภายใน ระยะ ระหว่าง ระยะ และ หลังจาก
การนำ. การ ประเมิน ผล อาจ จะ ก่อสร้าง หรือ Summative.
ก่อสร้าง การ ประเมิน ผล จะ ต่อ เนื่อง ใน และ ระหว่าง ระยะ. วัตถุประสงค์ ของ ประเภท การ ประเมิน นี้ คือ
เพื่อ ปรับปรุง การ สอน ก่อน ที่ รุ่น สุดท้าย คือ ดำเนิน.
Summative ประเมิน ผล มัก จะ เกิด ขึ้น หลังจาก รุ่น สุดท้าย ของ การ สอน จะ ดำเนิน. ประเภท นี้
การ ประเมิน ผล การ ประเมิน ประสิทธิภาพ โดย รวม ของ คำ สั่ง. ข้อมูล จาก การ ประเมิน ผล เป็น Summative
มัก จะ ใช้ เพื่อ ตัดสินใจ เกี่ยว กับ การ สอน (เช่น ว่า จะ ซื้อ ชุด การ สอน
หรือ ต่อ / ยกเลิก การ สอน).
นี้ สรุป ADDIE Model อธิบาย ได้ โดย สาม นักศึกษา ปริญญา โท (Sherri Braxton,
Kimberly Bronico, Thelma Looms) ใน วิชา วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ที่ George Washington
มหาวิทยาลัย ใน วอชิงตัน ดี ซี Available ณ 9/23/00 ที่:
http://www.seas.gwu.edu/ sbraxton ~ / ISD / general_phases.html





สอน Systems, College of Education, University Penn State
สอน System Design (ISD): การ ใช้ ADDIE Model
การ ออกแบบ การ สอน เป็น วิธี ระบบ ที่
การ วิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนา ดำเนิน การ และ การ ประเมิน ผล การ เรียน รู้ สื่อ และ กิจกรรม.
การ ออกแบบ การ สอน มี วัตถุประสงค์ เพื่อ ผู้ เรียน เป็น ศูนย์กลาง มากกว่า ครู โบราณ ศูนย์กลาง วิธี การ
การ สอน เพื่อ การ เรียน รู้ ที่ มี ประสิทธิภาพ สามารถ เกิด ขึ้น. หมายความ ว่า องค์ประกอบ ของ การ เรียน การ สอน ทุก
จะ เป็น ไป ตาม ผล การ เรียน ซึ่ง ได้ รับ การ พิจารณา หลังจาก วิเคราะห์ ถี่ถ้วน ของ
ความ ต้องการ ของ ผู้ เรียน '.
ระยะ นี้ บาง ครั้ง ซ้อน กัน และ สามารถ กัน แต่ พวก เขา ให้ แบบ ไดนามิก ยืดหยุ่น
แนวทาง การ สอน ที่ มี ประสิทธิภาพ และ มี ประสิทธิภาพ.
ตัวอย่าง งาน ตัวอย่าง Output วิเคราะห์ การ กำหนด สิ่ง ที่ จะ ได้ เรียน รู้ การ ประเมิน ความ ต้องการ? ตัว ปัญหา? วิเคราะห์ • Task โปรไฟล์ • เรียน ? คำ อธิบาย ของ ข้อ จำกัด
ต้องการ • ปัญหา งบ วิเคราะห์ • Task ออกแบบ การ ระบุ ว่า มัน คือ เรียน รู้ วัตถุประสงค์? เขียน
? พัฒนา รายการ ทดสอบ สอน • Plan ทรัพยากร • ระบุ วัตถุประสงค์ วัด? กลยุทธ์ การ สอน
ข้อกำหนด ต้นแบบ? การ พัฒนา การ เขียน และ ผลิต วัสดุ ทำงาน กับ ผู้ ผลิต พัฒนา สมุด ผัง,
โปรแกรม Storyboard? สคริปต์? แบบฝึกหัด? คอมพิวเตอร์ ช่วย สอน การ ปฏิบัติ การ ติด ตั้ง โครงการ ใน บริบท โลก จริง อบรม ครู? การ ทดสอบ? ความ คิดเห็น • นักศึกษา ข้อมูล
การ ประเมิน ผล การ กำหนด ความ เพียงพอ ของ การ สอน ข้อมูล เวลา • Record ตีความ ผล การ ทดสอบ บัณฑิต • สำรวจ กิจกรรม • แก้ไข คำ แนะนำ? รายงาน • โครงการ ต้นแบบ ปรับ?
San Jose State University, สอน Technology Program
วิเคราะห์ ออกแบบ การ พัฒนา การ ประเมิน ผล การ ดำเนิน Summative การ ประเมิน ผล การ ก่อสร้าง ADDIE Model เป็น ที่ กล่าว ย้ำ การ ออกแบบ การ สอน กระบวนการ ที่ ผล ของ
การ ประเมิน ผล การ ก่อสร้าง ของ แต่ละ ขั้น ตอน อาจ นำ สอน ออกแบบ กลับ ไป ที่ ใด ระยะก่อน. ผลิตภัณฑ์ ที่ สิ้นสุด ของ ระยะ หนึ่ง คือ เริ่ม ต้น ผลิตภัณฑ์ ของ ระยะ ต่อ ไป.
Steven J. McGriff 09/2000
สอน Systems, College of Education, University Penn State
สอน System Design (ISD): การ ใช้ ADDIE Model
วิเคราะห์
ขั้น ตอน การ วิเคราะห์ เป็น รากฐาน สำหรับ ขั้น ตอน อื่น ๆ ของ การ ออกแบบ การ สอน. ระหว่าง ขั้น ตอน นี้ คุณ
ต้อง กำหนด ปัญหา ได้ ระบุ แหล่ง ที่ มา ของ ปัญหา และ กำหนด โซลูชั่น ไป.
ระยะ อาจ รวม ถึง เทคนิค การ วิจัย เฉพาะ เช่น การ วิเคราะห์ ความ ต้องการ การ วิเคราะห์ งาน และ วิเคราะห์ งาน.
ผล ของ ระยะ นี้ มัก จะ รวม เป้าหมาย การ สอน และ รายการ ของ งาน ที่ จะ คำ สั่ง. เหล่า นี้
ผล จะ inputs สำหรับ ระยะ Design.
ออกแบบ
ขั้น ตอน การ ออกแบบ เกี่ยวข้อง กับ การ ใช้ ผล จาก ขั้น ตอน การ วิเคราะห์ เพื่อ วางแผน กลยุทธ์ สำหรับ การ พัฒนา
สอน. ระหว่าง ขั้น ตอน นี้ คุณ ต้อง โครง วิธี การ บรรลุ เป้าหมาย การ สอน ใน ระหว่าง การ พิจารณา
ขั้น ตอน การ วิเคราะห์ และ ขยาย มูลนิธิ สอน.
บาง องค์ประกอบ ของ ระยะ การ ออกแบบ อาจ รวม ถึง การ เขียน คำ อธิบาย ประชากร เป้าหมาย การ ดำเนิน
การ วิเคราะห์ การ เรียน รู้ การ เขียน วัตถุประสงค์ และ รายการ ทดสอบ การ เลือก ระบบ การ จัด ส่ง และ sequencing
สอน. ผล ของ ขั้น ตอน การ ออกแบบ จะ inputs สำหรับ พัฒนา เฟส.
การ พัฒนา
พัฒนา ขั้น ตอน การ สร้าง ทั้ง วิเคราะห์ และ ระยะ Design. วัตถุประสงค์ ของ ระยะ นี้ คือ
สร้าง แผนการ เรียน และ สื่อ การ เรียน. ระหว่าง ขั้น ตอน ที่ คุณ จะ พัฒนา สอน ทั้งหมด นี้
สื่อ ที่ จะ ใช้ ใน การ สอน และ เอกสาร ใด ๆ ที่ สนับสนุน. นี้ อาจ รวม ถึง ฮาร์ดแวร์
(เช่น เครื่อง จำลอง) และ ซอฟต์แวร์ (เช่น เครื่อง คอมพิวเตอร์ ที่ ใช้ สอน).
การ ปฏิบัติ
ขั้น ตอน การ ดำเนิน การ หมาย ถึง การ แสดง จริง ของ คำ สั่ง นั้น ไม่ ว่า จะ เป็น ห้องเรียน-based,
ห้อง ปฏิบัติการ ที่ ใช้ หรือ คอมพิวเตอร์-based. วัตถุประสงค์ ของ ขั้น ตอน นี้ คือ มี ประสิทธิภาพ และ มี ประสิทธิภาพ การ จัด ส่ง ของ
สอน. ระยะ นี้ จะ ต้อง ส่งเสริม ความ เข้าใจ นักเรียน 'ของ วัสดุ สนับสนุน นักเรียน'
การ บังคับบัญชา วัตถุประสงค์ และ ให้ โอน นักเรียน 'ความ รู้ จาก การ สอน ไป
งาน.
การ ประเมิน ผล
ระยะ นี้ วัด ประสิทธิผล และ ประสิทธิภาพ ของ การ สอน. การ ประเมิน ผล จริง จะ เกิด ขึ้น
ตลอด กระบวนการ ออกแบบ การ สอน ทั้งหมด - ภายใน ระยะ ระหว่าง ระยะ และ หลังจาก
การนำ. การ ประเมิน ผล อาจ จะ ก่อสร้าง หรือ Summative.
ก่อสร้าง การ ประเมิน ผล จะ ต่อ เนื่อง ใน และ ระหว่าง ระยะ. วัตถุประสงค์ ของ ประเภท การ ประเมิน นี้ คือ
เพื่อ ปรับปรุง การ สอน ก่อน ที่ รุ่น สุดท้าย คือ ดำเนิน.
Summative ประเมิน ผล มัก จะ เกิด ขึ้น หลังจาก รุ่น สุดท้าย ของ การ สอน จะ ดำเนิน. ประเภท นี้
การ ประเมิน ผล การ ประเมิน ประสิทธิภาพ โดย รวม ของ คำ สั่ง. ข้อมูล จาก การ ประเมิน ผล เป็น Summative
มัก จะ ใช้ เพื่อ ตัดสินใจ เกี่ยว กับ การ สอน (เช่น ว่า จะ ซื้อ ชุด การ สอน
หรือ ต่อ / ยกเลิก การ สอน).
นี้ สรุป ADDIE Model อธิบาย ได้ โดย สาม นักศึกษา ปริญญา โท (Sherri Braxton,
Kimberly Bronico, Thelma Looms) ใน วิชา วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ที่ George Washington
มหาวิทยาลัย ใน วอชิงตัน ดี ซี Available ณ 9/23/00 ที่:
http://www.seas.gwu.edu/ sbraxton ~ / ISD / general_phases.html






นางสาวกตัญชลี พงศ์ทองมี
ชั้นปีที่1 เลขที่ 24
สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

supod


เด็กใหม่เทคโนฯ
เด็กใหม่เทคโนฯ

สอน Systems, College of Education, University Penn State
สอน System Design (ISD): การ ใช้ ADDIE Model
การ ออกแบบ การ สอน เป็น วิธี ระบบ ที่
การ วิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนา ดำเนิน การ และ การ ประเมิน ผล การ เรียน รู้ สื่อ และ กิจกรรม.
การ ออกแบบ การ สอน มี วัตถุประสงค์ เพื่อ ผู้ เรียน เป็น ศูนย์กลาง มากกว่า ครู โบราณ ศูนย์กลาง วิธี การ
การ สอน เพื่อ การ เรียน รู้ ที่ มี ประสิทธิภาพ สามารถ เกิด ขึ้น. หมายความ ว่า องค์ประกอบ ของ การ เรียน การ สอน ทุก
จะ เป็น ไป ตาม ผล การ เรียน ซึ่ง ได้ รับ การ พิจารณา หลังจาก วิเคราะห์ ถี่ถ้วน ของ
ความ ต้องการ ของ ผู้ เรียน '.
ระยะ นี้ บาง ครั้ง ซ้อน กัน และ สามารถ กัน แต่ พวก เขา ให้ แบบ ไดนามิก ยืดหยุ่น
แนวทาง การ สอน ที่ มี ประสิทธิภาพ และ มี ประสิทธิภาพ.
ตัวอย่าง งาน ตัวอย่าง Output วิเคราะห์ การ กำหนด สิ่ง ที่ จะ ได้ เรียน รู้ การ ประเมิน ความ ต้องการ? ตัว ปัญหา? วิเคราะห์ • Task โปรไฟล์ • เรียน ? คำ อธิบาย ของ ข้อ จำกัด
ต้องการ • ปัญหา งบ วิเคราะห์ • Task ออกแบบ การ ระบุ ว่า มัน คือ เรียน รู้ วัตถุประสงค์? เขียน
? พัฒนา รายการ ทดสอบ สอน • Plan ทรัพยากร • ระบุ วัตถุประสงค์ วัด? กลยุทธ์ การ สอน
ข้อกำหนด ต้นแบบ? การ พัฒนา การ เขียน และ ผลิต วัสดุ ทำงาน กับ ผู้ ผลิต พัฒนา สมุด ผัง,
โปรแกรม Storyboard? สคริปต์? แบบฝึกหัด? คอมพิวเตอร์ ช่วย สอน การ ปฏิบัติ การ ติด ตั้ง โครงการ ใน บริบท โลก จริง อบรม ครู? การ ทดสอบ? ความ คิดเห็น • นักศึกษา ข้อมูล
การ ประเมิน ผล การ กำหนด ความ เพียงพอ ของ การ สอน ข้อมูล เวลา • Record ตีความ ผล การ ทดสอบ บัณฑิต • สำรวจ กิจกรรม • แก้ไข คำ แนะนำ? รายงาน • โครงการ ต้นแบบ ปรับ?
San Jose State University, สอน Technology Program
วิเคราะห์ ออกแบบ การ พัฒนา การ ประเมิน ผล การ ดำเนิน Summative การ ประเมิน ผล การ ก่อสร้าง ADDIE Model เป็น ที่ กล่าว ย้ำ การ ออกแบบ การ สอน กระบวนการ ที่ ผล ของ
การ ประเมิน ผล การ ก่อสร้าง ของ แต่ละ ขั้น ตอน อาจ นำ สอน ออกแบบ กลับ ไป ที่ ใด ระยะก่อน. ผลิตภัณฑ์ ที่ สิ้นสุด ของ ระยะ หนึ่ง คือ เริ่ม ต้น ผลิตภัณฑ์ ของ ระยะ ต่อ ไป.
Steven J. McGriff 09/2000
สอน Systems, College of Education, University Penn State
สอน System Design (ISD): การ ใช้ ADDIE Model
วิเคราะห์
ขั้น ตอน การ วิเคราะห์ เป็น รากฐาน สำหรับ ขั้น ตอน อื่น ๆ ของ การ ออกแบบ การ สอน. ระหว่าง ขั้น ตอน นี้ คุณ
ต้อง กำหนด ปัญหา ได้ ระบุ แหล่ง ที่ มา ของ ปัญหา และ กำหนด โซลูชั่น ไป.
ระยะ อาจ รวม ถึง เทคนิค การ วิจัย เฉพาะ เช่น การ วิเคราะห์ ความ ต้องการ การ วิเคราะห์ งาน และ วิเคราะห์ งาน.
ผล ของ ระยะ นี้ มัก จะ รวม เป้าหมาย การ สอน และ รายการ ของ งาน ที่ จะ คำ สั่ง. เหล่า นี้
ผล จะ inputs สำหรับ ระยะ Design.
ออกแบบ
ขั้น ตอน การ ออกแบบ เกี่ยวข้อง กับ การ ใช้ ผล จาก ขั้น ตอน การ วิเคราะห์ เพื่อ วางแผน กลยุทธ์ สำหรับ การ พัฒนา
สอน. ระหว่าง ขั้น ตอน นี้ คุณ ต้อง โครง วิธี การ บรรลุ เป้าหมาย การ สอน ใน ระหว่าง การ พิจารณา
ขั้น ตอน การ วิเคราะห์ และ ขยาย มูลนิธิ สอน.
บาง องค์ประกอบ ของ ระยะ การ ออกแบบ อาจ รวม ถึง การ เขียน คำ อธิบาย ประชากร เป้าหมาย การ ดำเนิน
การ วิเคราะห์ การ เรียน รู้ การ เขียน วัตถุประสงค์ และ รายการ ทดสอบ การ เลือก ระบบ การ จัด ส่ง และ sequencing
สอน. ผล ของ ขั้น ตอน การ ออกแบบ จะ inputs สำหรับ พัฒนา เฟส.
การ พัฒนา
พัฒนา ขั้น ตอน การ สร้าง ทั้ง วิเคราะห์ และ ระยะ Design. วัตถุประสงค์ ของ ระยะ นี้ คือ
สร้าง แผนการ เรียน และ สื่อ การ เรียน. ระหว่าง ขั้น ตอน ที่ คุณ จะ พัฒนา สอน ทั้งหมด นี้
สื่อ ที่ จะ ใช้ ใน การ สอน และ เอกสาร ใด ๆ ที่ สนับสนุน. นี้ อาจ รวม ถึง ฮาร์ดแวร์
(เช่น เครื่อง จำลอง) และ ซอฟต์แวร์ (เช่น เครื่อง คอมพิวเตอร์ ที่ ใช้ สอน).
การ ปฏิบัติ
ขั้น ตอน การ ดำเนิน การ หมาย ถึง การ แสดง จริง ของ คำ สั่ง นั้น ไม่ ว่า จะ เป็น ห้องเรียน-based,
ห้อง ปฏิบัติการ ที่ ใช้ หรือ คอมพิวเตอร์-based. วัตถุประสงค์ ของ ขั้น ตอน นี้ คือ มี ประสิทธิภาพ และ มี ประสิทธิภาพ การ จัด ส่ง ของ
สอน. ระยะ นี้ จะ ต้อง ส่งเสริม ความ เข้าใจ นักเรียน 'ของ วัสดุ สนับสนุน นักเรียน'
การ บังคับบัญชา วัตถุประสงค์ และ ให้ โอน นักเรียน 'ความ รู้ จาก การ สอน ไป

http://www.seas.gwu.edu/ sbraxton ~ / ISD / general_phases.html


นายสุพจน์ กุพันธ์ เลขที่22 ชั้นปีที่1 สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

ya-ya-yo@hotmail.com


เด็กใหม่เทคโนฯ
เด็กใหม่เทคโนฯ

ลักษณะการสอนที่ดี
การสอนที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
1. มีการส่งเสริมนักเรียนให้เรียนด้วยการกระทำ การได้ลงมือทำจริง ให้ประสบการณ์ที่มีความหมาย
2. มีการส่งเสริมนักเรียนให้เรียนด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและ
กัน การทำงานร่วมกับผู้อื่น
3. มีการตอบสนองความต้องการของนักเรียน เรียนด้วยความสุข ความสนใจ กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
4. มีการสอนให้สัมพันธ์ระหว่างวิชาที่เรียนกับวิชาอื่น ๆ ในหลักสูตรเป็นอย่างดี
5. มีการใช้สื่อการสอน จำพวกโสตทัศนวัสดุ เพื่อเร้าความสนใจ ช่วย ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น
6. มีกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเร้าความสนใจ ผู้เรียนสนุกสนาน ได้ลงมือปฏิบัติจริง และดูผลการปฏิบัติของตนเอง
7. มีการส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ ด้วยการซักถาม หรือให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาง่าย
ๆ เด็กคิดหาเหตุผลเปรียบเทียบ และพิจารณาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ
8. มีการส่งเสริมความคิดริเริ่ม และความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมการคิดทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ดีมีประโยชน์ไม่
เลียนแบบใคร ส่งเสริมกิจกรรมสุนทรียภาพ ร้อยกรอง วาดภาพ และแสดงละคร
9. มีการใช้การจูงใจ ในระหว่างเรียน เช่น รางวัล การชมเชย คะแนนแข่งขัน เครื่องเชิดชูเกียรติ การลงโทษ ซึ่งจะช่วย
ให้เกิดความสนใจ ตั้งใจ ขยันหมั่นเพียรในการเรียนและทำกิจกรรม
10. มีการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแบบประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น มีการรับฟังความคิดเห็นซึ่ง
กันและกัน เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ยกย่องความคิดเห็นที่ดี นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนร่วมกับครู
11. มีการเร้าความสนใจก่อนลงมือทำการสอนเสมอ
12. มีการประเมินผลตลอกเวลา โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสังเกต การซักถาม การทดสอบ เพื่อให้แน่ใจว่าการสอนของ
ครูตรงตามจุดประสงค์มากที่สุด

น.ส. แคนย่า ไอเลย์วา
เลขที่ 37 ชั้นปีที่ 1

ขึ้นไปข้างบน  ข้อความ [หน้า 1 จาก 3]

ไปที่หน้า : 1, 2, 3  Next

Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ