Educational Technology and Innovation:ผลิตสื่อเพื่อการสอน..
ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบอร์ด
สาขาเทคโนฯนวัตกรรมการศึกษาค่ะ
หากเพื่อนๆต้องการแอดเฟสบุ๊ค ได้ตามลิ้งค์ข้างล่างนะคะ

https://www.facebook.com/etbru

Join the forum, it's quick and easy

Educational Technology and Innovation:ผลิตสื่อเพื่อการสอน..
ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบอร์ด
สาขาเทคโนฯนวัตกรรมการศึกษาค่ะ
หากเพื่อนๆต้องการแอดเฟสบุ๊ค ได้ตามลิ้งค์ข้างล่างนะคะ

https://www.facebook.com/etbru
Educational Technology and Innovation:ผลิตสื่อเพื่อการสอน..
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Educational Technology and Innovation (BURIRAM RAJABHAT UNIVERSITY)


You are not connected. Please login or register

ส่งงาน

Go down  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

1ส่งงาน Empty ส่งงาน Mon Dec 28, 2009 1:19 pm

yingtae_classic


มือสมัครเล่น
มือสมัครเล่น

หลักการสอนที่ดี

การสอน เป็นหนึ่งในกระบวนการที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามความหมายของการศึกษา คือ การส่งเสริมให้บุคคลเจริญเติบโตและมีความเจริญงอกงามทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาและพัฒนาขึ้นไปสู่ความเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม การสอนมีความ หมายที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับปรัชญาหรือจุดมุ่งหมายที่เราต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน
ความหมายของการสอน
ความหมายที่เป็นศิลป์เป็นความหมายที่เป็นพฤติกรรมการถ่ายทอดของครูในยุคดั่งเดิมที่ถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่ผู้มีประสบการณ์น้อยกว่า ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนขึ้นอยู่กับอารมณ์และความพอใจของผู้สอน การสอนถือว่าเป็นความสามารถหรือ ศิลปเฉพาะตัวของผู้สอน ที่ถ่ายทอดหรือสอน เพราะผู้สอนจะมีลีลาหรือเล่ห์เหลี่ยมการสอนที่แตกต่างกันออกไปตามความรู้ความสามารถและทักษะของแต่ละคน

ความหมายที่เป็นศาสตร์ เป็นการสอน (Teaching ) ที่มีระบบระเบียบมากขึ้น มีขั้นตอนที่ชัดเจน มีการแสดงให้เห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน มีการศึกษาค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับ จิตวิทยา การเรียนรู้ของผู้เรียน ในช่วงต้น ๆ ครูเป็นศูนย์กลางในการจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ตามสถานการณ์และความพอใจของครู

ความหมายที่เป็นศาสตร์และศิลป์ เป็นการปรับเปลี่ยนจากการสอน (Teaching ) มาสู่การเรียนการสอน (Instruction) ครูต้องใช้ความรู้ในการวางแผนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนด โดยอาศัยสื่อและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ามาช่วย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนขยายวงกว้างออกไป รวมไปถึงปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ ด้วย

ความหมายของการสอน จำแนกตามความมุ่งหมาย
การสอน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้
การสอน หมายถึง การจัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
การสอน หมายถึง การฝึกให้ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาต่าง ๆ
การสอน หมายถึง การแนะแนวทางแก่ผู้เรียนเพื่อให้ศึกษาหาความรู้
การสอน หมายถึง การสร้างหรือการจัดสถานการณ์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
การสอน หมายถึง กระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความคิดที่จะนำความรู้
ไปใช้เกิดทักษะหรือความชำนาญที่จะแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
การสอน หมายถึง การจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้นักเรียนได้ปะทะเพื่อที่จะให้เกิดการ
เรียนรู้หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น การสอนจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่
ก่อให้เกิดการเจริญงอกงาม
องค์ประกอบของการเรียนการสอน
การเรียนการสอน มีองค์ประกอบที่เป็นตัวป้อน กระบวนการ และ ผลผลิต
1. ตัวป้อน ได้แก่ ครู หรือ ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ วัสดุอุปกรณ์
2. กระบวนการ ได้แก่ การดำเนินการสอน การตรวจสอบความรู้พื้นฐาน การสร้างความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆ
3. ผลผลิต ได้แก่ ผลการเรียนรู้ที่เกิดแก่ผู้เรียน ตามจุดประสงค์การเรียนการสอนที่กำหนด
จุดประสงค์การเรียนการสอน
ความหมายของจุดประสงค์การเรียนการสอน
จุดประสงค์การเรียนการสอน คือข้อความที่ระบุคุณลักษณะการเรียนรู้และความสามารถที่ครูต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน หลังจากที่นักเรียนได้ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนในบทหนึ่ง ๆ แล้ว ความสำคัญของจุดประสงค์การเรียนการสอน
แบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือ
1. จุดประสงค์ทั่วไป เป็นจุดประสงค์ที่มีความหมายกว้างไม่เฉพาะเจาะจง และเป็น
จุดประสงค์ที่ตั้งขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้ง เช่น เพื่อให้มีนิสัยใฝ่หาความรู้ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ และเห็นคุณค่าในศิลปวัฒนธรรมไทย
2. จุดประสงค์เฉพาะ เป็นจุดประสงค์ที่มีเฉพาะเจาะจง และเป็นจุดที่ตั้งขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้ง เช่น นักเรียนสามารถเขียนแผนภูมิแท่งได้ นักเรียนสามารถวาดภาพได้จุดประสงค์เฉพาะจะชี้ให้เห็นสิ่งที่ต้องการจากการศึกษาอย่างเจาะจงและเกี่ยวข้องกับเนื้อหาโดยตรง นอกจากนี้ จุดประสงค์ยังอาจแบ่งได้ตามลักษณะการเรียนรู้ได้เป็น 3 ด้าน ดังนี้
• ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) หรือด้านสติปัญญา หรือด้านความรู้และการคิดประกอบด้วยความรู้ความจำเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ การนำเอาสิ่งที่เป็นความรู้ความจำไปทำความเข้าใจ นำไปใช้ การใช้ความคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า
• ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) หรือด้านทักษะทางกาย หรือด้านการปฏิบัติ ประกอบด้วยทักษะการเคลื่อนไหว และการใช้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การเลียนแบบ การทำตามคำบอก การทำอย่างถูกต้องเหมาะสม การทำได้ถูกต้องหลายรูปแบบ การทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ
• ด้านจิตพิสัย (Effective Domain) หรือด้านอารมณ์ – จิตใจ ความสนใจ เจตคติ ค่านิยม และคุณธรรม เช่น การเห็นคุณค่า การรับรู้ การตอบสนอง และการสร้างคุณค่าในเรื่องที่ตนรับรู้นั้น แล้วนำเอาสิ่งที่มีคุณค่านั้นมาจัดระบบและสร้างเป็นลักษณะนิสัย
รูปแบบการสอน
การสอนมีอยู่มากมายหลายวิธี แต่ละวิธีก็จะมีข้อเด่นข้อด้อยในตัวเอง เราไม่สามารถกล่าวได้ว่า วิธีใดเป็นวิธีสอนที่ดีที่สุด เพราะการเรียนการสอนต้องขึ้นกับองค์ประกอบหลายประการ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องตัดสินใจเลือกวิธีสอนตามความเหมาะสมของสภาพที่เป็นอยู่ ควรนำเทคนิคต่าง ๆ มากระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลาที่กำหนดให้
การเลือกวิธีสอน มีแนวคิด ดังนี้
1. สอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน เป็นวิธีที่มั่นใจว่าจะสามารถช่วยให้ผู้เรียน
บรรลุจุดประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
2. สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่จะสอน
3. เหมาะสมกับเวลา สถานที่ และจำนวนผู้เรียน
ลักษณะการสอนที่ดี การสอนที่ดีต้องมีองค์ประกอบร่วมกันหลายประการ ที่เหมาะสมสอดคล้อง
กัน แยกลักษณะ ได้ดังนี้
อาจารย์ผู้สอน
1.มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพครู
- อุทิศเวลาและเสียสละให้กับงานสอนด้วยความรับผิดชอบ
- สอนอย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
- ช่วยเหลือและปฏิบัติต่อศิษย์อย่างเป็นธรรม
- เป็นตัวอย่างที่ดีของศิษย์
- หมั่นศึกษาค้นคว้าติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการของตนให้ทันต่อเหตุการณ์
เสมอ
2.มีทัศนคติที่ดีต่อการเป็นครู และ ตั้งใจสอน
3.ลักษณะอาจารย์อาจารย์ ควรมีลักษณะท่าทางที่จริงใจ มีเมตตา สนใจต่อผู้เรียนให้ความ
เป็นกันเอง
4.ไม่ควรยึดมั่นในวิธีสอนวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงวิธีเดียว ควรเสาะหาวิธีที่เหมาะสมกับการสอน
แต่ละเนื้อหา
5.ถ่ายทอดความรู้ได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย
วิธีการสอน
1..ต้องคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน ในด้านวัย ประสบการณ์เดิมและความแตกต่าง
ระหว่างบุคคลเป็นหลัก
2. ส่งเสริมให้นักเรียนได้มีการเรียนด้วยการกระทำ (Learning by Doing) ให้มากที่สุด เพื่อ
จะได้เกิดการเรียนรู้ที่ดี และจำได้นาน
3. ส่งเสริมนักเรียนให้เรียนด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม ได้แสดงความคิดเห็น ยอมรับความ
คิดเห็นซึ่งกันและกัน
4. มีการตอบสนองความต้องการของนักเรียน เรียนด้วยความสุข ความสนใจ กระตือรือร้น
ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
5. การจัดเตรียมกระบวนการเรียนการสอน การจัดห้องเรียน การเตรียมความรู้ ใช้ตำรา
ประกอบการเรียน มีทักษะในการสอนแบบต่าง ๆได้เหมาะสมกับเนื้อหา
6. มีกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเร้าความสนใจ ผู้เรียนสนุกสนาน ได้ลงมือปฏิบัติจริงและดู
ผลการปฏิบัติของตนเอง
7. มีการส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ ด้วยการซักถาม หรือให้แสดงความ
คิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาง่าย ๆ คิดหาเหตุผลเปรียบเทียบ และพิจารณาความสัมพันธ์ของ
สิ่งต่าง ๆ
8. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดค้นหาเหตุผลความเป็นไปของสิ่งที่เรียน ไม่ใช่ข้อเท็จจริง
จากตำราหรือคำบอกเล่าอย่างเดียว
9.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน การดำเนินกิจกรรม และการประเมินผล
การเรียนการสอน
10. มีการส่งเสริมความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ส่งเสริมการคิดทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ดีมีประโยชน์ไม่
เลียนแบบใคร ส่งเสริม กิจกรรมสุทรียภาพ ร้อยกรอง วาดภาพ และแสดงละคร
11. มีการใช้การจูงใจ ในระหว่างเรียน เช่น รางวัล การชมเชย คะแนนแข่งขัน การลงโทษ
ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสนใจ ตั้งใจ ขยันหมั่นเพียรในการเรียนและทำกิจกรรม
เนื้อหาวิชา
1. มีความสัมพันธ์กันระหว่างวิชาที่เรียนกับวิชาอื่น ๆ ในหลักสูตรเป็นอย่างดี(การสอน
แบบบูรณาการ)
สื่อการสอน
1.อุปกรณ์การสอนและการเรียน รวมถึงห้องปฏิบัติการ การใช้เครื่องมือต่าง ๆ มีห้องสมุดที่ สมบูรณ์ และตำราที่เป็นภาษาของตนเอง
2. มีการใช้สื่อการสอน จำพวกโสตทัศนวัสดุ เพื่อเร้าความสนใจ ช่วย ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น
สิ่งแวดล้อม
1.ต้องสร้างบรรยากาศให้เหมาะแก่การเรียนรู้ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและอารมณ์ของผู้เรียน

. 2. มีการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแบบประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นมีการ
รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ยกย่องความ คิดเห็น ที่ดี
นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนร่วมกับครู
การประเมินผล
1.ควรมีการประเมินผลตลอดเวลา โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสังเกต การซักถาม การทดสอบ
เพื่อให้แน่ใจว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ ของครูตรงตาม
จุดประสงค์มากที่สุด
2.การวัดผล มีการป้อนกลับ และการเสริม ใช้การวัดผลเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการ
สอน รู้จักออกข้อสอบที่ดี ให้คะแนนยุติธรรม
3. มีการวัดผลการเรียนการสอน โดยจะทำการวัดผลเป็นระยะ ๆ ให้ติดต่อกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิด
ความสนใจ ตั้งใจเรียนและยังเป็นการวัดความเข้าใจของนักเรียนด้วย


สรุปหลักการสอนที่ดี คือ ผู้สอน วิธีการสอน และการเรียนรู้ บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม ต้องมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ผู้สอนจะต้องมีจรรยาบรรณแห่งความเป็นครู วิธีการสอนคือกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้สอนกับผู้เรียนจะต้องสอดคล้อง เหมาะสม เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี เพื่อให้การสอนบรรลุตามเป้าหมาย ผู้สอนต้องเตรียมการสอนมาอย่างดี ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทุกด้าน จัดการสอนอย่างมีกระบวนการ และให้ครบองค์ประกอบการสอน ได้แก่ การตั้งจุดประสงค์การสอน การกำหนดเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อการสอน และการวัดผลประเมินผล ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ตรงตามจุดมุ่งหมาย ของหลักสูตร นอกจากนี้ผู้สอนควรได้คำนึงถึงหลักพื้นฐานในการสอน ลักษณะการสอนที่ดี และปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดจนรู้จักใช้หลักการสอนให้สอดคล้องกับหลักการเรียนรู้หลักจิตวิทยาบรรยากาศเป็นประชาธิปไตย ก็จะช่วยให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร







อิสตรี อินทรกำแหง

2ส่งงาน Empty Re: ส่งงาน Mon Dec 28, 2009 1:20 pm

yingtae_classic


มือสมัครเล่น
มือสมัครเล่น

หลักการสอนที่ดี

การสอน เป็นหนึ่งในกระบวนการที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามความหมายของการศึกษา คือ การส่งเสริมให้บุคคลเจริญเติบโตและมีความเจริญงอกงามทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาและพัฒนาขึ้นไปสู่ความเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม การสอนมีความ หมายที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับปรัชญาหรือจุดมุ่งหมายที่เราต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน
ความหมายของการสอน
ความหมายที่เป็นศิลป์เป็นความหมายที่เป็นพฤติกรรมการถ่ายทอดของครูในยุคดั่งเดิมที่ถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่ผู้มีประสบการณ์น้อยกว่า ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนขึ้นอยู่กับอารมณ์และความพอใจของผู้สอน การสอนถือว่าเป็นความสามารถหรือ ศิลปเฉพาะตัวของผู้สอน ที่ถ่ายทอดหรือสอน เพราะผู้สอนจะมีลีลาหรือเล่ห์เหลี่ยมการสอนที่แตกต่างกันออกไปตามความรู้ความสามารถและทักษะของแต่ละคน

ความหมายที่เป็นศาสตร์ เป็นการสอน (Teaching ) ที่มีระบบระเบียบมากขึ้น มีขั้นตอนที่ชัดเจน มีการแสดงให้เห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน มีการศึกษาค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับ จิตวิทยา การเรียนรู้ของผู้เรียน ในช่วงต้น ๆ ครูเป็นศูนย์กลางในการจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ตามสถานการณ์และความพอใจของครู

ความหมายที่เป็นศาสตร์และศิลป์ เป็นการปรับเปลี่ยนจากการสอน (Teaching ) มาสู่การเรียนการสอน (Instruction) ครูต้องใช้ความรู้ในการวางแผนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนด โดยอาศัยสื่อและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ามาช่วย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนขยายวงกว้างออกไป รวมไปถึงปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ ด้วย

ความหมายของการสอน จำแนกตามความมุ่งหมาย
การสอน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้
การสอน หมายถึง การจัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
การสอน หมายถึง การฝึกให้ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาต่าง ๆ
การสอน หมายถึง การแนะแนวทางแก่ผู้เรียนเพื่อให้ศึกษาหาความรู้
การสอน หมายถึง การสร้างหรือการจัดสถานการณ์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
การสอน หมายถึง กระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความคิดที่จะนำความรู้
ไปใช้เกิดทักษะหรือความชำนาญที่จะแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
การสอน หมายถึง การจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้นักเรียนได้ปะทะเพื่อที่จะให้เกิดการ
เรียนรู้หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น การสอนจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่
ก่อให้เกิดการเจริญงอกงาม
องค์ประกอบของการเรียนการสอน
การเรียนการสอน มีองค์ประกอบที่เป็นตัวป้อน กระบวนการ และ ผลผลิต
1. ตัวป้อน ได้แก่ ครู หรือ ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ วัสดุอุปกรณ์
2. กระบวนการ ได้แก่ การดำเนินการสอน การตรวจสอบความรู้พื้นฐาน การสร้างความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆ
3. ผลผลิต ได้แก่ ผลการเรียนรู้ที่เกิดแก่ผู้เรียน ตามจุดประสงค์การเรียนการสอนที่กำหนด
จุดประสงค์การเรียนการสอน
ความหมายของจุดประสงค์การเรียนการสอน
จุดประสงค์การเรียนการสอน คือข้อความที่ระบุคุณลักษณะการเรียนรู้และความสามารถที่ครูต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน หลังจากที่นักเรียนได้ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนในบทหนึ่ง ๆ แล้ว ความสำคัญของจุดประสงค์การเรียนการสอน
แบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือ
1. จุดประสงค์ทั่วไป เป็นจุดประสงค์ที่มีความหมายกว้างไม่เฉพาะเจาะจง และเป็น
จุดประสงค์ที่ตั้งขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้ง เช่น เพื่อให้มีนิสัยใฝ่หาความรู้ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ และเห็นคุณค่าในศิลปวัฒนธรรมไทย
2. จุดประสงค์เฉพาะ เป็นจุดประสงค์ที่มีเฉพาะเจาะจง และเป็นจุดที่ตั้งขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้ง เช่น นักเรียนสามารถเขียนแผนภูมิแท่งได้ นักเรียนสามารถวาดภาพได้จุดประสงค์เฉพาะจะชี้ให้เห็นสิ่งที่ต้องการจากการศึกษาอย่างเจาะจงและเกี่ยวข้องกับเนื้อหาโดยตรง นอกจากนี้ จุดประสงค์ยังอาจแบ่งได้ตามลักษณะการเรียนรู้ได้เป็น 3 ด้าน ดังนี้
• ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) หรือด้านสติปัญญา หรือด้านความรู้และการคิดประกอบด้วยความรู้ความจำเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ การนำเอาสิ่งที่เป็นความรู้ความจำไปทำความเข้าใจ นำไปใช้ การใช้ความคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า
• ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) หรือด้านทักษะทางกาย หรือด้านการปฏิบัติ ประกอบด้วยทักษะการเคลื่อนไหว และการใช้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การเลียนแบบ การทำตามคำบอก การทำอย่างถูกต้องเหมาะสม การทำได้ถูกต้องหลายรูปแบบ การทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ
• ด้านจิตพิสัย (Effective Domain) หรือด้านอารมณ์ – จิตใจ ความสนใจ เจตคติ ค่านิยม และคุณธรรม เช่น การเห็นคุณค่า การรับรู้ การตอบสนอง และการสร้างคุณค่าในเรื่องที่ตนรับรู้นั้น แล้วนำเอาสิ่งที่มีคุณค่านั้นมาจัดระบบและสร้างเป็นลักษณะนิสัย
รูปแบบการสอน
การสอนมีอยู่มากมายหลายวิธี แต่ละวิธีก็จะมีข้อเด่นข้อด้อยในตัวเอง เราไม่สามารถกล่าวได้ว่า วิธีใดเป็นวิธีสอนที่ดีที่สุด เพราะการเรียนการสอนต้องขึ้นกับองค์ประกอบหลายประการ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องตัดสินใจเลือกวิธีสอนตามความเหมาะสมของสภาพที่เป็นอยู่ ควรนำเทคนิคต่าง ๆ มากระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลาที่กำหนดให้
การเลือกวิธีสอน มีแนวคิด ดังนี้
1. สอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน เป็นวิธีที่มั่นใจว่าจะสามารถช่วยให้ผู้เรียน
บรรลุจุดประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
2. สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่จะสอน
3. เหมาะสมกับเวลา สถานที่ และจำนวนผู้เรียน
ลักษณะการสอนที่ดี การสอนที่ดีต้องมีองค์ประกอบร่วมกันหลายประการ ที่เหมาะสมสอดคล้อง
กัน แยกลักษณะ ได้ดังนี้
อาจารย์ผู้สอน
1.มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพครู
- อุทิศเวลาและเสียสละให้กับงานสอนด้วยความรับผิดชอบ
- สอนอย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
- ช่วยเหลือและปฏิบัติต่อศิษย์อย่างเป็นธรรม
- เป็นตัวอย่างที่ดีของศิษย์
- หมั่นศึกษาค้นคว้าติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการของตนให้ทันต่อเหตุการณ์
เสมอ
2.มีทัศนคติที่ดีต่อการเป็นครู และ ตั้งใจสอน
3.ลักษณะอาจารย์อาจารย์ ควรมีลักษณะท่าทางที่จริงใจ มีเมตตา สนใจต่อผู้เรียนให้ความ
เป็นกันเอง
4.ไม่ควรยึดมั่นในวิธีสอนวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงวิธีเดียว ควรเสาะหาวิธีที่เหมาะสมกับการสอน
แต่ละเนื้อหา
5.ถ่ายทอดความรู้ได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย
วิธีการสอน
1..ต้องคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน ในด้านวัย ประสบการณ์เดิมและความแตกต่าง
ระหว่างบุคคลเป็นหลัก
2. ส่งเสริมให้นักเรียนได้มีการเรียนด้วยการกระทำ (Learning by Doing) ให้มากที่สุด เพื่อ
จะได้เกิดการเรียนรู้ที่ดี และจำได้นาน
3. ส่งเสริมนักเรียนให้เรียนด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม ได้แสดงความคิดเห็น ยอมรับความ
คิดเห็นซึ่งกันและกัน
4. มีการตอบสนองความต้องการของนักเรียน เรียนด้วยความสุข ความสนใจ กระตือรือร้น
ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
5. การจัดเตรียมกระบวนการเรียนการสอน การจัดห้องเรียน การเตรียมความรู้ ใช้ตำรา
ประกอบการเรียน มีทักษะในการสอนแบบต่าง ๆได้เหมาะสมกับเนื้อหา
6. มีกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเร้าความสนใจ ผู้เรียนสนุกสนาน ได้ลงมือปฏิบัติจริงและดู
ผลการปฏิบัติของตนเอง
7. มีการส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ ด้วยการซักถาม หรือให้แสดงความ
คิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาง่าย ๆ คิดหาเหตุผลเปรียบเทียบ และพิจารณาความสัมพันธ์ของ
สิ่งต่าง ๆ
8. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดค้นหาเหตุผลความเป็นไปของสิ่งที่เรียน ไม่ใช่ข้อเท็จจริง
จากตำราหรือคำบอกเล่าอย่างเดียว
9.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน การดำเนินกิจกรรม และการประเมินผล
การเรียนการสอน
10. มีการส่งเสริมความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ส่งเสริมการคิดทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ดีมีประโยชน์ไม่
เลียนแบบใคร ส่งเสริม กิจกรรมสุทรียภาพ ร้อยกรอง วาดภาพ และแสดงละคร
11. มีการใช้การจูงใจ ในระหว่างเรียน เช่น รางวัล การชมเชย คะแนนแข่งขัน การลงโทษ
ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสนใจ ตั้งใจ ขยันหมั่นเพียรในการเรียนและทำกิจกรรม
เนื้อหาวิชา
1. มีความสัมพันธ์กันระหว่างวิชาที่เรียนกับวิชาอื่น ๆ ในหลักสูตรเป็นอย่างดี(การสอน
แบบบูรณาการ)
สื่อการสอน
1.อุปกรณ์การสอนและการเรียน รวมถึงห้องปฏิบัติการ การใช้เครื่องมือต่าง ๆ มีห้องสมุดที่ สมบูรณ์ และตำราที่เป็นภาษาของตนเอง
2. มีการใช้สื่อการสอน จำพวกโสตทัศนวัสดุ เพื่อเร้าความสนใจ ช่วย ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น
สิ่งแวดล้อม
1.ต้องสร้างบรรยากาศให้เหมาะแก่การเรียนรู้ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและอารมณ์ของผู้เรียน

. 2. มีการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแบบประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นมีการ
รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ยกย่องความ คิดเห็น ที่ดี
นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนร่วมกับครู
การประเมินผล
1.ควรมีการประเมินผลตลอดเวลา โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสังเกต การซักถาม การทดสอบ
เพื่อให้แน่ใจว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ ของครูตรงตาม
จุดประสงค์มากที่สุด
2.การวัดผล มีการป้อนกลับ และการเสริม ใช้การวัดผลเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการ
สอน รู้จักออกข้อสอบที่ดี ให้คะแนนยุติธรรม
3. มีการวัดผลการเรียนการสอน โดยจะทำการวัดผลเป็นระยะ ๆ ให้ติดต่อกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิด
ความสนใจ ตั้งใจเรียนและยังเป็นการวัดความเข้าใจของนักเรียนด้วย


สรุปหลักการสอนที่ดี คือ ผู้สอน วิธีการสอน และการเรียนรู้ บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม ต้องมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ผู้สอนจะต้องมีจรรยาบรรณแห่งความเป็นครู วิธีการสอนคือกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้สอนกับผู้เรียนจะต้องสอดคล้อง เหมาะสม เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี เพื่อให้การสอนบรรลุตามเป้าหมาย ผู้สอนต้องเตรียมการสอนมาอย่างดี ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทุกด้าน จัดการสอนอย่างมีกระบวนการ และให้ครบองค์ประกอบการสอน ได้แก่ การตั้งจุดประสงค์การสอน การกำหนดเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อการสอน และการวัดผลประเมินผล ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ตรงตามจุดมุ่งหมาย ของหลักสูตร นอกจากนี้ผู้สอนควรได้คำนึงถึงหลักพื้นฐานในการสอน ลักษณะการสอนที่ดี และปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดจนรู้จักใช้หลักการสอนให้สอดคล้องกับหลักการเรียนรู้หลักจิตวิทยาบรรยากาศเป็นประชาธิปไตย ก็จะช่วยให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร







นางสาวอิสตรี อินทรกำแหง

เลขที่ 55 ปี1

ขึ้นไปข้างบน  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ