Educational Technology and Innovation:ผลิตสื่อเพื่อการสอน..
ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบอร์ด
สาขาเทคโนฯนวัตกรรมการศึกษาค่ะ
หากเพื่อนๆต้องการแอดเฟสบุ๊ค ได้ตามลิ้งค์ข้างล่างนะคะ

https://www.facebook.com/etbru

Join the forum, it's quick and easy

Educational Technology and Innovation:ผลิตสื่อเพื่อการสอน..
ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบอร์ด
สาขาเทคโนฯนวัตกรรมการศึกษาค่ะ
หากเพื่อนๆต้องการแอดเฟสบุ๊ค ได้ตามลิ้งค์ข้างล่างนะคะ

https://www.facebook.com/etbru
Educational Technology and Innovation:ผลิตสื่อเพื่อการสอน..
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Educational Technology and Innovation (BURIRAM RAJABHAT UNIVERSITY)


You are not connected. Please login or register

ความสมดุลของภาพ(Balance)

Go down  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

KIMSOKLEK

KIMSOKLEK
มือสมัครเล่น
มือสมัครเล่น

ในการถ่ายภาพ..เราสามารถวางองค์ประกอบภาพให้เกิดความสมดุลได้ 2 แบบด้วยกัน คือ


1. สมดุลแบบสมมาตร (Symmetrical Balance)

หมายถึง "ความสมดุลโดยองค์ประกอบภาพ" กล่าวคือ เป็นการจัดวางส่วนประกอบภาพที่มีลักษณะเหมือนๆ กัน รวมไปถึงมีสัดส่วน ขนาด น้ำหนัก ฯลฯ ทั้งด้านซ้ายและขวา

ภาพลักษณะนี้จะดูเป็นทางการ สงบนิ่ง มีระเบียบแบบแผน

ความสมดุลของภาพ(Balance) Post-272-1206878806


2. สมดุลแบบอสมมาตร (Asymmetrical Balance)

หมายถึง เป็นลักษณะซึ่งเรียกว่า "สมดุลโดยความรู้สึก" กล่าวคือ องค์ประกอบซ้าย/ขวา หรือ บน/ล่าง ไม่จำเป็นว่าจะต้องเหมือนกัน และ/หรือ ต้องมีขนาด ปริมาตร หรือ น้ำหนัก ฯลฯ เท่าๆ กัน

เพียงแต่เมื่อมองดูแล้วกลับให้ความรู้สึกว่าเกิด/มีความสมดุลภายในภาพ เช่น มีรู้สึกว่ามีการเกลี่ยน้ำหนักซ้าย/ ขวา เท่าๆ กัน หรือเมื่อดูแล้ว...ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกว่ามีน้ำหนักไปกดทับ หรือตกไปอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง ฯลฯ


ตัวอย่างเช่น
ความสมดุลของภาพ(Balance) Post-272-1206879081
ความสมดุลของภาพ(Balance) Post-272-1206879244

คุณสมบัติของการเป็นนักถ่ายภาพที่ดี และลักษณะภาพถ่ายที่ดี " นั้น..จะต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง?


ท่านแรก...อ.ศักดา

ซึ่งได้บรรยายไว้ในหนังสือหลักสูตร “การถ่ายภาพชั้นสูง” โดยได้กล่าวถึง “คุณสมบัติของการที่จะเป็นนักถ่ายภาพที่ดี” นั้น จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติสำคัญ ดังต่อไปนี้ คือ

1. จะต้อง "ศึกษา เรียนรู้ให้เข้าใจถึงทฤษฎี หรือ หลักวิชาการถ่ายภาพอย่างถ่องแท้"

นั่นหมายถึง จะต้องหมั่นสนใจ ศึกษา และเรียนรู้ เกี่ยวกับหลักทฤษฎีการถ่ายภาพอย่างลึกซึ้ง และที่สำคัญที่สุด ก็คือ จะต้องจดจำให้แม่นยำด้วย สามารถนำมาใช้ทุกสภาวการณ์ และได้ตลอดเวลา ฯลฯ

อธิบายความได้ว่า..เปรียบได้กับเราต้องการสร้างบ้านด้วยตัวเองสักหลังหนึ่ง ก่อนอื่นเราะต้องศึกษาและเรียนรู้ให้เข้าใจอย่างแท้จริงถึงวิศวกรรมโครงสร้าง/พื้นฐาน รวมถึงหลักวิชาสถาปัตยกรรมให้ถ่องแท้เสียก่อน..เราจึงสามารถสร้างบ้านได้ดี

และ ในเรื่องของการถ่ายภาพก็เช่นกัน เพราะการเรียนรู้ถึงหลักการ หรือหลักทฤษฎีการถ่ายภาพได้อย่างถ่องแท้ และการจดจำได้อย่างแม่นยำ ฯลฯ นั่นคือ "หัวใจหลัก ซึ่งเป็นหลักการ และเป็นพื้นฐานในการกำหนดกรอบความคิดที่จะถ่ายภาพใดๆ ได้อย่างถูกต้องต่อไป" นั่นเอง


2. จะต้อง “เน้นจุดสำคัญ”

หมายถึง ในการถ่ายภาพใดๆ นอกจากการจัดวางองค์ประกอบภาพที่ดี และถูกต้องแล้ว สิ่งจะต้องคำนึงถึง และให้ความสำคัญเป็นลำดับถัดไป ก็คือ “เน้นจุดสำคัญ” กล่าวคือ จะต้องเน้นว่า ส่วนใดเป็นจุดสำคัญที่สุด เป็นหัวใจหลัก และส่วนใดมีความสำคัญรองๆ ลงไป เป็นลำดับ


3. จะต้อง "ทันต่อเหตุการณ์"

กล่าวคือ จะต้องมีความกระตือรือร้น ว่องไว ทันต่อเหตุการณ์ อยู่เสมอ ฯลฯ
หลายๆ ครั้ง ภาพถ่ายที่ดี และถือว่ามีคุณค่านั้น กลับหาใช่ภาพถ่ายที่ได้รับการจัดวางองค์ประกอบที่ถูกต้องเสมอไป หรือ มีมุมมองที่ดูดี สวยงาม เสมอไปนัก
แต่..เป็นภาพที่เน้นสาระสำคัญเป็นหลัก ดังเช่น ภาพข่าว หรือ ภาพเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เป็นต้น


4. จะต้อง "สามารถบอกเล่าเรื่องราวได้"

กล่าวคือ จะต้องสามารถสื่อบอกถึงสาระสำคัญ หรือ สื่อบอกเรื่องราวได้ นั่นคือ ในภาพหนึ่งๆ นั้นอย่างน้อยที่สุดจะต้องสามารถสื่อบอกได้ว่า ใคร? ทำอะไร? ที่ไหน? อย่างไร? เกี่ยวข้องกับใคร/อะไร? บ้าง


5. จะต้อง "เป็นผู้รอโอกาสที่ดี"

กล่าวคือ การที่จะเป็นนักถ่ายภาพที่ดีได้นั้นจะต้อง “หัดเป็นผู้รอโอกาสที่ดี และเหมาะสม” ให้ได้ด้วย

“การเป็นผู้รอโอกาส” กินความหมายกว้างไปถึง การรู้จักกะการณ์ หรือวางแผนล่วงหน้า เช่น วางแผนที่จะไปถ่ายเพื่อเก็บภาพเรื่องราวต่างๆ งานพิธี หรือเหตุการณ์ต่างๆ เป็นต้น

รู้จักรอจังหวะที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะหมายรวมไปถึง การรู้จักฉกฉวยโอกาส เช่น การถ่ายภาพในลักษณะฉับพลันทันใด (suddenly) เป็นต้น เช่น เมื่อพบเจอสิ่งที่น่าสนใจต่างๆ หรือ เหตุการณ์เฉพาะหน้า ซึ่งไม่ได้คาดคิด หรือ มีการตระเตรียมมาก่อน เป็นต้น


ท่านที่สอง อ.พูน เกษจำรัส
(ปรมาจารย์ เรื่องการถ่ายภาพ “ตัวจริงเสียงจริง” รวมถึงเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาการถ่ายภาพ)....

*"ส่วนนี้"...เป็นเรื่องความทรงจำที่กระผมจดจำไว้ตั้งกะสมัยที่มีโอกาสได้เข้ารับการอบรมเ
รื่องการถ่ายภาพ กับ อ.พูน (ตั้งกะในปี 2531 ปู้นนน ) ในการเสวนาช่วงหนึ่ง อ.พูน ได้กล่าวถึง..“คุณสมบัติของการที่จะเป็นนักถ่ายภาพที่ดี” ได้นั้น จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติที่สำคัญ หลักๆ 3 ประการด้วยกัน คือ

1. เหมือนๆ/คล้ายๆ กับหัวข้อ1. ข้างต้น…(อิ อิ .. คือ มีเนื้อสาระสำคัญคล้ายๆ กับของ อ.ศักดา จึงขี้เกียจจะพิมพ์ซ้ำ นิ)

2. เหมือนๆ/คล้ายๆกับหัวข้อ 4 ข้างต้น ............

3. จะต้อง "มีจินตนาการ"
กล่าวคือ นอกจากเมื่อเรามีพื้นฐานทางวิชาการที่ถูกต้องและแม่นยำแล้ว อีกทั้งมีความพยายามที่จะฝึกฝนเพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญตามหัวข้อ 1 และ 2 แล้ว พัฒนาการขั้นต่อไป ก็คือ “การสร้างจินตนาการ”

"ลองหัดคิดนอกกรอบดูบ้าง" กล่าวคือ "หัด/ลองฝัน หรือ สร้างจินตนาการ ฯลฯ" ดั่งเช่น การนำสิ่งของ หรือวัตถุ 2 อย่าง ซึ่งดู ๆ แล้ว ต่างก็ไม่ได้มีส่วนหนึ่งส่วนใดที่เกี่ยวข้อง หรือเข้ากันได้เลย เช่น นำแมว กับ ซากรถเก่าๆ เป็นต้น โดยพยายามที่จะจับ หรือนำมารวมโยงรวมเข้าด้วยกัน

*ซึ่งการหัดคิดแบบนี้อาจจะนำมาซึ่งแนวคิดใหม่ๆ หรืออาจจะเกิดไอเดียใหม่ๆ ที่แตกแขนงออกมาจากเดิมๆ ก็เป็นได้


ขอ..ทิ้งท้าย

คำแนะนำ (รวมทั้งวิพากษ์ หรือ คำวิจารณ์ )จากบุคคลอื่นนั้น..ก็ขอให้ถือเป็นเพียงแนวทางหนึ่งสำหรับที่จะนำมาปรับ/เสริมความคิด และทัศนมิติของตัวเราเอง

แต่ถึงกระนั้น "ก็ใช่ว่าจะต้องเชื่อถือเสมอไปไม่ หรือว่า จะต้องปฏิบัติตามอย่างอยู่ร่ำไปก็หาไม่"

*ก็ลองคิดดูสิว่า...หากให้ผู้ซึ่งใครๆ ต่างก็ยอมรับว่า “เป็นผู้รู้” 5 คน ไปยืนพิจารณาวัตถุ ทัศนมิติ หรือ ภาพใดๆ ฯลฯ....แล้วให้ต่างคนต่างมาวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งก็เชื่อได้ว่า ร้อยทั้งร้อย ไม่มีทางที่จะมีมุมมอง และความคิดรวบยอด (top concept) ที่จะต้องตรงกันได้อย่างแน่นอน

กล่าวคือ "มุมมองฯ ในการมองสิ่งต่างๆ ของแต่ละคนย่อมจะไม่เหมือนกัน (ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะในเรื่องการถ่ายภาพ) ทั้งนี้เพราะ..ย่อมจะขึ้นอยู่กับปัจจัย และตัวแปรหลายประการด้วยกัน เช่น การได้รับการศึกษาอบรมมาแตกต่างกัน (และมากน้อยเพียงไร) ความรู้สึก นึกคิด การสร้างจินตภาพ(จินตนาการ+สร้างภาพ)ของแต่ละคน รวมไปถึงการสั่งสมประสบการณ์ฯ ว่าต่างกันเช่นไร?"


ปล.
ซึ่งหาก…เราได้ฝึกฝนเกิดทักษะ จนสามารถก้าวขึ้นไปถึงข้อที่ 3 แล้ว เชื่อแน่ว่าเราจะสามารถค้นพบแนวทาง หรือเอกลักษณ์อันเป็นตัวของเราเองได้อย่างแน่นอน


credit: http://www.siamfreestyle.com/forum/index.php?s=b65e55ed3b9172a376cc15330dc83f75&showtopic=689

ขึ้นไปข้างบน  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ